
BS100 Season 7 คุยเรื่องการรับสมัคร – CityTrailTALK ซิตี้เทรลทอล์ค
ประวัติ ประเทศพม่า
เรียบเรียงโดย โจ @jirapongl
ประธานาธิบดี: U Win Myint (อู วีน มยิน)
เมืองหลวง: เนปิดอว์ (เนปยีดอ)
ประชากร 53 ล้านคน (ไทย=69 ล้านคน)
สกุลเงิน จ๊าด (MMK) (จั๊ต) 1 USD = 1,500 MMK
พื้นที่ (ตร.กม.) 676,552 (ประเทศไทย 513,115)
ภาษาหลัก ภาษาพม่า ภาษาชนกลุ่มน้อย
ศาสนาหลัก พุทธศาสนา
อายุขัย (ปี) ผู้ชาย=64,ผู้หญิง=69 (ผู้ชายไทย=71,ผู้หญิง=79)

ประวัติศาสตร์เรียงตาม ปี คศ. ในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง

1057 – พระเจ้าอโนรธาสถาปนาอาณาจักรพุกาม อาณาจักรแห่งแรกของชนชาติพม่า และยอมรับนับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาท
1287 -กองทัพชาวมองโกลของพระเจ้ากุบไลข่านตีกรุงพุกามแตกในสมัยพระเจ้านราธิหะปติ เป็นอันสิ้นสุดอาณาจักรพุกาม
1510 – พระเจ้าเมงจีโยสถาปนาเมืองตองอูขึ้นเป็นราชธานี รุ่งเรืองสูงสุดในยุคบุเรงนอง (1551-1581)
1752 – พระเจ้าอลองพญา รบชนะมอญรวบรวมพม่าเป็นปึกแผ่นสมัยที่3และตั้งราชธานีที่ชเวโบ เป็นต้นราชวงศ์คองบอง ราชวงศ์สุดท้าย
1824-26 – อังกฤษยึดครองอินเดียได้แล้วก็รุกคืบสู่ลุ่มน้ำอิระวดี เกิดสงครามระหว่างอังกฤษ-พม่า จบลงด้วยสนธิสัญญา Yandabo พม่ายก ชายฝั่ง Arakan ที่อยู่ระหว่างเมือง Chittagong และ Cape Negrais, ให้อังกฤษ
1852 – อังกฤษผนวกดินแดนพม่าตอนล่างรวมถึงย่างกุ้งในการแพ้สงครามของพม่าครั้งที่ 2
1885-86 – อังกฤษชนะพม่าเด็ดขาด ยึดกรุงมัณฑะเลย์ แล้วได้ย้ายเมืองหลวงมายังกรุงย่างกุ้ง พระเจ้าสีป่อถูกส่งไปอยู่อินเดีย
1937 – อังกฤษแยกพม่าออกจากอินเดีย ตั้งเป็นอาณานิคมในพระองค์ (Crown Colony)
ประวัติศาสตร์เรียงตาม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

1942 – ญี่ปุ่นเข้ายึดพม่า โดยมีกองกำลังเรียกร้องเอกราชพม่าให้การสนับสนุน (Thakins – We Burmans Association) กลุ่มนี้ต่อมากลายเป็น กลุ่ม Anti-Fascist People’s Freedom League (AFPFL) และต่อต้านการยึดครองพม่าของญี่ปุ่น หลังจากเห็นว่า ญี่ปุ่นไม่จริงจังจะช่วยพม่าให้มีเอกราชจากอังกฤษ
1945 – สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง อังกฤษปลดปล่อยพม่าจากญี่ปุ่นด้วยความช่วยเหลือจาก AFPFL โดยมีนายพล Aung San เป็นแกนนำ
1947 นายพล Aung San พร้อมด้วยกลุ่ม AFPFL กลุ่มสมาคมในพม่าและผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ได้จัดการประชุมเพื่อวางแนวทางในการก่อตั้งประเทศพม่า การประชุมดังกล่าวรู้จักกันในชื่อ “การประชุมเวียงปางหลวง” (Panglong Agreement) ◦สาระสำคัญของการประชุมคือ ภายใน 10 ปีหลังจากที่ก่อตั้งประเทศพม่า กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ชาวพม่า (อาทิ ไทยใหญ่, กะเหรี่ยง, กะซิน) สามารถแยกตัวจากพม่า และจัดตั้งประเทศอิสระเป็นของตนเองได้
1947 – Aung San กับสหายรัฐมนตรี 6 คนถูกสังหารโดยคนของ U Saw ฝ่ายตรงข้ามแนวคิดชาตินิยม U Nu ขึ้นเป็นหัวหน้า AFPFL แทน Aung San
ประวัติศาสตร์เรียงตาม ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หลังประกาศอิสระภาพ

1948 – พม่าได้รับเอกราช U Nu ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก
1950s – U Nu ร่วมกับนานาประเทศได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย ยูโกสลาเวีย อิยิปต์ ก่อตั้งกลุ่มไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Movement of Non-Aligned States – NAM)
1958-60 – เกิดความแตกแยกใน AFPFL U Nu ไม่สามารถจัดการได้ จึงเชิญนายพลเนวิน ผู้นำกองทัพเข้ามาเป็นรัฐบาลรักษาการชั่วคราว ก่อนมีการเลือกตั้งในปี
1960 1960 – U Nu ชนะการเลือกตั้ง แต่นโยบายทางศาสนาและชนกลุ่มน้อยสร้างความไม่พอใจให้กองทัพ
เมียนมาร์ – ยุคมืด – ฝ่ายเดียว รัฐนำโดยทหาร
1962 – นายพล Ne Win ทำรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาล U Nu ฉีกรัฐธรรมนูญ สถาปนาการปกครองแบบเผด็จการ ใช้นโยบายเศรษฐกิจแบบ สังคมนิยมแบบพม่า ยึดกิจการเป็นของรัฐ ลดการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ จนได้ฉายา “ฤๅษีแห่งเอเชีย
1974 – รัฐธรรมนูญใหม่มีผลบังคับใช้ อำนาจการปกครองโอนถ่ายให้กับสภาประชาชนที่นำโดย Ne Win และคณะทหาร
1975 – ชนกลุ่มน้อยที่เคลื่อนไหวแบบกองโจรร่วมกันก่อตั้งแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติ ต่อสู้กับรัฐบาล (National Democratic Front)
1981 – Ne Win ลงจากตำแหน่งประธานาธิบดี แต่ไปนั่งตำแหน่งประธานพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า (Burma Socialist Programme Party) ให้นาย San Yu ขึ้นเป็นประธานาธิบดีแทน
1982 – รัฐบาลทหารพม่าออกกฎหมายสัญชาติ กำหนดสถานะประชากร 1) พลเมืองพม่า 2) พลเมืองผู้อาศัย และ 3) พลเมืองแปลงสัญชาติ เฉพาะพลเมืองพม่าเท่านั้นที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและข้าราชการได้ โดยมุสลิมโรฮิงญานั้นไม่จัดเป็นพลเมืองของพม่าทั้ง 3 สถานะ ทำให้ไม่สามารถได้รับการช่วยเหลือหรือทำธุรกรรมกับรัฐได้

เมียนมาร์ – การจลาจลและการต่อต้าน
1987 – รัฐบาลออกธนบัตรใบละ 90 จ๊าต 45 จ๊าต 35 จ๊าต 25 จ๊าต แล้วก็ก็ประกาศยกเลิกธนบัตรเหล่านี้ โดยไม่มีการรับแลกคืน เท่ากับเป็นการปล้นประชาชน เงินพม่าจึงไม่มีใครเชื่อถืออีกต่อไป เป็นจุดที่ทำให้เริ่มเกิดการประท้วงรัฐบาล
1988 – ประชาชนเริ่มไม่พอใจออกมาประท้วงจน Ne Win ลาออก แต่ก็ยังเกิดการประท้วงครั้งใหญ่ในเหตุการณ์ “8888 uprising” ในวันที่ 8.8.1988 ประชาชนนับล้านออกมาชุมนุมประท้วงรัฐบาลโดยมีบุคคลที่มี่บทบาทสำคัญในการประท้วงคือ นาง Aung San Suu Kyi บุตรสาวนายพล Aung San เกิดการยึดอำนาจโดยกลุ่มทหารที่นำโดยนายพลซอหม่อง (Saw Muang) ในนามคณะรักษากฎระเบียบและความสงบแห่งรัฐ (The State Law and Order Restoration Council – SLORC)
1989 – SLORC ออกกฎอัยการศึก จับประชาชนนับพันที่เรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน เปลี่ยนชื่อเมืองหลวงจาก Rangoon เป็น Yangon กักขังนาง Aung San Suu Kyi ผู้นำพรรค NLD ไว้ในบ้าน (House arrest) แต่ก็สัญญาจะคืนอำนาจให้แก่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และจะจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในปี 1990

เมียนมาร์ – อองซานซูจี ผู้นำ พรรค NLD

1990 – พรรคสันนิบาตชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy – NLD) ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย แต่ SLORC ล้มผลการเลือกตั้ง
1991 – Aung San Suu Kyi ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ จาการต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยโดยไม่ใช้ความรุนแรง
1992 – นายพล Than Shwe ขึ้นดำรงตำแหน่งประธาน SLORC นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกลาโหม แทน Saw Maung มีการปล่อยนักโทษการเมืองเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ดีขึ้นในสายตาต่างประเทศ
1995 – Aung San Suu Kyi ถูกปล่อยตัวหลังการกับขังในบ้านมานาน 6 ปี
1996 – Aung San Suu Kyi เข้าร่วมประชุมพรรค NLD ครั้งแรก แต่ SLORC ให้มีการจับตัวตัวแทนพรรค 200 คนระหว่างการเดินทางไปประชุม
1997 – ASEAN รับพม่าเข้าเป็นสมาชิก SLORC เปลี่ยนชื่อเป็น State Peace and Development Council (SPDC).
1998 – SPDC ปล่อยตัว สมาชิก NLD 300 คนออกจาคุก
2000 – Aung San Suu Kyi เริ่มต้นเจรจากับ SPDC เริ่มมีการอนุญาตให้เคลื่อนไหวทางการเมืองได้
2001 – มีการปล่อยตัวนักโทษการเมืองกว่า 200 คน 2001 – นายกรัฐมนตรีไทย ประธานาธิบดีจีน เยือนพม่า สนับสนุนการพัฒนาประเทศของพม่า
2002 – Aung San Suu ได้รับการปล่อยตัวจากการกักขังในบ้านมานานกว่า 20 เดือน
2003 – Khin Nyunt ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี และเสนอจัดประชุมร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นเส้นทางนำไปสู่ประชาธิปไตย สมาชิกอาวุโสพรรค NLD 5 คนได้รับการปล่อยตัวหลังการเยือนของทูตด้านสิทธิมนุษยชนของ UN
2004 – รัฐบาลบรรลุการเจรจาหยุดการเผชิญหน้ากับสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen National Union) เริ่มการประชุมร่างรัฐธรรมนูญ แต่ NLD ประท้วงไม่เข้าร่วม เนื่องจาก Aung San Suu Kyi ถูกกักขังในบ้านพักอีกครั้ง Khin Nyunt ถูกปลดและถูกจับขังในบ้าน


เมียนมาร์ – รัฐบาลทหารเข้าครอบงำ
2005 – พม่าย้ายเมืองหลวงไปที่ Nay Pyi Taw
2007 – เกิดเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ที่เรียกว่า “การปฏิวัติร่มกาสาวพัสตร์” (Saffron Revolution) เมื่อมีพระสงฆ์ แม่ชี และประชาชนพม่านับแสนคน ออกมาชุมนุมประท้วงรัฐบาลนายพลตานฉ่วย รัฐบาลยอมให้มีการเลือกตังในปี 2010
2008 – พม่าเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น Myanmar รัฐบาลเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญที่ให้ทหารมีที่นั่งในสภาถึง 1 ใน 4 และห้ามการดำรงตำแหน่งทางการเมืองของนาง Aung San Suu Kyi 2008 May – Cyclone Nargis ถล่มพื้นที่ตอนล่างของลุ่มแม่น้ำอิรวดี มีผู้เสียชีวิตถึง 134,000 แต่รัฐบาลยังคงทำประชามติ มีผู้เห็นชอบรัฐธรรมนูญใหม่ 92%
2009 – Aung San Suu Kyi เริ่มเจรจากับผู้นำทหารอีกครั้ง และได้รับอนุญาตให้พบทูตต่างชาติได้
2010 – Union Solidarity and Development Party (USDP) พรรคที่มีทหารหนุนหลัง ชนะการเลือกตั้ง Aung San Suu Kyi ได้รับการปล่อยตัวจากการกักขังในบ้าน
2011 – Thein Sein ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีที่มาจากพลเรือนคนแรก นาง Aung San Suu Kyi พบประธานาธิบดีที่ Nay Pyi Taw และออกมากล่าวว่าจะพาพรรคเข้าสู่กระบวนการทางการเมือง
2011 December – US Secretary of State Hillary Clinton เยือนพม่า พบนาง Aung San Suu Kyi และ ประธานาธิบดี Thein Sein เสนอพัฒนาความสัมพันธ์กับสหรัฐถ้ากระบวนการปฏิรูปประชาธิปไตยของพม่าดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
2012 – Aung San Suu Kyi และผู้สมัครของพรรค NLD ชนะเลือกตั้งซ่อมอย่างท่วมท้น รัฐบาลพม่ายกเลิกการปิดกั้นสื่อมวลชน EU เสนอเงินช่วยพม่าพัฒนาประเทศกว่า 100 ล้านดอลลาร์ US President Barack Obama เยือนพม่า ย้ำความสัมพันธ์กับการปฏิรูปประเทศของพม่า
2013 – หนังสือพิมพ์เอกชนเปิดใหม่ 4 ฉบับเป็นครั้งแรกในรอบ 50 ปี Thein Sein เยือน Washington President Obama ชื่นชนการพัฒนาการทางการเมืองและเศรษฐกิจของพม่า แต่ติงเรื่องการจัดการ Rohingya Muslims

2015 – Aung San Suu Kyi ชนะเลือกตั้ง ได้ที่นั่งในสภาเพียงพอที่จะจัดตั้งรัฐบาล
2016 – Htin Kyaw ขึ้นเป็นประธานาธิบดี เข้าสู่ยุคใหม่ของประชาธิปไตยพม่าหลังจากอยู่ภายใต้เผด็จการทหารกว่า 50 ปี NLD สถาปนาตำแหน่งที่ปรึกษาแห่งรัฐ (State Counsellor) ให้ Aung San Suu Kyi

2017 – เกิดการอพยพของชนกลุ่มน้อย Rohingya เข้าสู่บังคลาเทศ หลังจากปฏิบัติการกวาดล้างตอบโต้การโจมตีตำรวจของชาว Rohingya
2018 – Htin Kyaw ลาออก Win Myint คนสนิทของ Aung San Suu Kyi ขึ้นเป็นประธานาธิบดีแทน
2018 – รายงานของ UN ระบุการกระทำของพม่าต่อชาว Rohingya เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ กล่าวหา Aung San Suu Kyi ว่าล้มเหลวในการป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรง

1 ความเห็น