https://www.podbean.com/media/share/pb-vv8s3-12277fd
EP170 นโยบายผู้สมัครผู้ว่า กทม ที่มีผล ต่อ ผู้ออกกำลังกายใน กทม เกียวกับ พื้นที่สีเขียว สวนสาธารณะ ทางเดินเท้า
EP นี้ พี่โจ ชวนคุยเรื่องนโนบายผู้สมัคร ผู้ว่า กทม. 2565 คือ พื้นที่ออกกำลังกาย สวนสาธารณะ พื้นที่สีเขียว และทางเดินเท้า
EP170 นโยบายผู้สมัครผู้ว่า กทม ที่มีผล ต่อ ผู้ออกกำลังกายใน กทม เกียวกับ พื้นที่สีเขียว สวนสาธารณะ ทางเดินเท้า
นโยบายที่อยากได้จากผู้ว่าฯ คนใหม่
- สวนสาธารณะ – สวนขนาดใหญ่ สวนขนาดเล็ก (pocket park) สวนที่ดัดแปลงจากสภาพภูมิประเทศ (สวนเลียบคลอง สวนใต้ทางด่วน สวนในชุมชน สวนบนพื้นที่เอกชน) – การเปิดปิดสวน การขอใช้สวน สิ่งอำนวยความสะดวกในสวน การดูแลสวน ที่จอดรถ การใช้ประโยชน์อื่น ๆ ห้องน้ำ ห้องอาบน้ำ การสร้างกิจกรรมภายในสวน (แอโรบิก สอนวิ่ง ฯลฯ)
- สวนทั้ง 7 ประเภท จำนวน 8,918 สวนจากข้อมูลของสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. เมื่อแยกประเภทเฉพาะสวนสาธารณะที่เข้าถึงได้ พบว่ากรุงเทพฯ มีสวนสาธารณะที่เข้าถึงได้ 133 แห่ง
- เขตที่มีพื้นที่สวนสาธารณะที่เข้าถึงได้ต่อจำนวนประชากรสูงที่สุดก็คือ ปทุมวัน 14.78 ตร.ม./คน รองลงมาก็คือประเวศ 11.36 ตร.ม./คน และจตุจักร 7.93 ตร.ม./คน
- เขตที่ไม่มีสวนสาธารณะที่เข้าถึงได้เลยก็คือ ป้อมปราบศัตรูพ่าย พระโขนง และภาษีเจริญ
- พื้นที่สีเขียวเพื่อการบริการ มีเกณฑ์ระดับสากลอยู่ที่ 4 ตร.ม./คน มีเพียง 4 เขตในกรุงเทพฯ เท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสากล นั่นก็คือ ปทุมวัน ประเวศ จตุจักร และพระนคร
- กรุงเทพฯ เพิ่มพื้นที่สีเขียวตามเป้าหมาย 9 ตร.ม./คน โดยอิงจากภาพรวมของกรุงเทพฯ ใช้งบฯ ส่วนมากในเขตกรุงเทพฯ ชั้นใน โดยไม่ได้พิจารณาถึงข้อมูลเชิงพื้นที่รายเขตว่าแต่ละเขตต้องเพิ่มสวนสาธารณะเท่าไร
- กรุงเทพฯ แบ่งสวนออกเป็น 7 ประเภทได้แก่ สวนเฉพาะทาง สวนชุมชน สวนถนน สวนระดับเมือง สวนระดับย่าน สวนหมู่บ้าน และสวนหย่อมขนาดเล็ก แต่ความหมายของคำว่าสวน หรือ ‘สวนสาธารณะ’ ที่เราคุ้นเคยกัน ซึ่งหมายถึงการเข้าไปใช้งานพื้นที่ได้ จะอยู่ในบางประเภทเท่านั้น เช่น สวนชุมชน สวนหมู่บ้าน สวนระดับย่าน สวนระดับเขต
- พื้นที่สาธารณะ – พื้นที่ที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปใช้ประโยชน์ (ทำกิจกรรมภายในชุมชน เปิดการแสดงทางวัฒนธรรม ขายของ)
- ทางเท้า – การปรับปรุงทางเพื่อคนเดินเท้า สร้างเมืองเดินได้ที่ใช้ประโยชน์ได้จริง ความปลอดภัยของคนเดินเท้า แรงจูงใจให้คนเดินทางด้วยการเดิน (first mile – last mile) การสร้างเส้นทาง city run สร้าง app city run และคนเดินเท้า
- การสร้างระบบ feeder จากบ้านอาศัยไปยังสถานีรถไฟฟ้า/ขนส่งมวลชน
ตารางแสดง ขนาดพื้นที่สวนสาธารณะ ต่อเขต การปกครอง เรียงตาม ปริมาณ พื้นที่สวน (ตรม.) ต่อ ปชก.
ปริมาณ ประชากรอ้างอิง ตามเว็บ สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2553)
เขต | ประชากร | ชื่อสวน | เนื้อที่ (ไร่) | พื้นที่สีสวนต่อ ปชก. |
เขตปทุมวัน | 57,368 | สวนปทุมวนานุรักษ์ | 37 | 1.032 |
สวนลุมพินี | 360 | 10.040 | ||
57,368 Total | 397 | 11.072 | ||
เขตปทุมวัน Total | 397 | 11.072 | ||
เขตจตุจักร | 162,838 | สวนจตุจักร | 155 | 1.523 |
สวนวชิรเบญจทัศ | 375 | 3.685 | ||
สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ | 196 | 1.926 | ||
162,838 Total | 726 | 7.133 | ||
เขตจตุจักร Total | 726 | 7.133 | ||
เขตประเวศ | 156,567 | สวน 50 พรรษา มหาจักรีสิรินธร | 20 | 0.204 |
สวนวนธรรม (สวนธรรม 70 พรรษา มหาราชินี) | 43 | 0.439 | ||
สวนหลวง ร.๙ | 500 | 5.110 | ||
156,567 Total | 563 | 5.753 | ||
เขตประเวศ Total | 563 | 5.753 | ||
เขตบึงกุ่ม | 147,030 | สวนนวมินทร์ภิรมย์ (บึงลำพังพวย) | 76 | 0.827 |
สวนเสรีไทย | 350 | 3.809 | ||
147,030 Total | 426 | 4.636 | ||
เขตบึงกุ่ม Total | 426 | 4.636 | ||
เขตคลองเตย | 112,906 | สวนเบญจกิติ | 130 | 1.842 |
สวนอุทยานเบญจสิริ | 29 | 0.411 | ||
112,906 Total | 159 | 2.253 | ||
เขตคลองเตย Total | 159 | 2.253 | ||
เขตพระนคร | 60,313 | สวนนาคราภิรมย์ (สวนกรมการค้าภายใน) | 3 | 0.080 |
สวนรมณีนาถ | 29 | 0.769 | ||
สวนสราญรมย์ | 23 | 0.610 | ||
สวนสาธารณะสันติชัยปราการ | 8 | 0.212 | ||
60,313 Total | 63 | 1.671 | ||
เขตพระนคร Total | 63 | 1.671 | ||
เขตคลองสามวา | 160,480 | สวนวารีภิรมย์ | 121 | 1.206 |
160,480 Total | 121 | 1.206 | ||
เขตคลองสามวา Total | 121 | 1.206 | ||
เขตทวีวัฒนา | 74,592 | สวนทวีวนารมย์ | 54 | 1.158 |
74,592 Total | 54 | 1.158 | ||
เขตทวีวัฒนา Total | 54 | 1.158 | ||
เขตลาดกระบัง | 157,477 | สวน 60 พรรษา สมเด็จพระบรมราชินีนาถ | 61 | 0.620 |
สวนพระนคร (สวนลาดกระบัง) | 50 | 0.508 | ||
157,477 Total | 111 | 1.128 | ||
เขตลาดกระบัง Total | 111 | 1.128 | ||
เขตทุ่งครุ | 115,131 | สวนธนบุรีรมย์ | 63 | 0.876 |
115,131 Total | 63 | 0.876 | ||
เขตทุ่งครุ Total | 63 | 0.876 | ||
เขตบางเขน | 188,164 | สวนกีฬารามอินทรา | 59 | 0.502 |
สวนวัชราภิรมย์ | 34 | 0.289 | ||
188,164 Total | 93 | 0.791 | ||
เขตบางเขน Total | 93 | 0.791 | ||
เขตบางคอแหลม | 98,870 | สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา | 29 | 0.469 |
98,870 Total | 29 | 0.469 | ||
เขตบางคอแหลม Total | 29 | 0.469 | ||
เขตราชเทวี | 76,233 | สวนสันติภาพ | 20 | 0.420 |
76,233 Total | 20 | 0.420 | ||
เขตราชเทวี Total | 20 | 0.420 | ||
เขตหนองจอก | 151,292 | สวนหนองจอก | 35 | 0.370 |
151,292 Total | 35 | 0.370 | ||
เขตหนองจอก Total | 35 | 0.370 | ||
เขตบางพลัด | 101,276 | สวนจรัญภิรมย์ | 3 | 0.047 |
สวนหลวงพระราม 8 | 20 | 0.316 | ||
101,276 Total | 23 | 0.363 | ||
เขตบางพลัด Total | 23 | 0.363 | ||
เขตบางกอกน้อย | 124,352 | สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ | 21 | 0.270 |
สวนสิรินธราพฤกษาพรรณ | 3 | 0.039 | ||
124,352 Total | 24 | 0.309 | ||
เขตบางกอกน้อย Total | 24 | 0.309 | ||
เขตสาทร | 88,179 | สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสมหามงคลพระชนมพรรษา 80 พรรษา | 17 | 0.308 |
88,179 Total | 17 | 0.308 | ||
เขตสาทร Total | 17 | 0.308 | ||
เขตห้วยขวาง | 77,292 | สวนพรรณภิรมย์ | 14 | 0.290 |
77,292 Total | 14 | 0.290 | ||
เขตห้วยขวาง Total | 14 | 0.290 | ||
เขตลาดพร้าว | 122,520 | สวนบึงน้ำลาดพร้าว 71 | 21 | 0.274 |
122,520 Total | 21 | 0.274 | ||
เขตลาดพร้าว Total | 21 | 0.274 | ||
เขตดอนเมือง | 166,354 | สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน | 15 | 0.144 |
166,354 Total | 15 | 0.144 | ||
เขตดอนเมือง Total | 15 | 0.144 | ||
เขตดุสิต | 111,496 | สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติเกียกกาย | 10 | 0.144 |
111,496 Total | 10 | 0.144 | ||
เขตดุสิต Total | 10 | 0.144 | ||
เขตหนองแขม | 145,361 | สวนยอดแขม | 3 | 0.033 |
145,361 Total | 3 | 0.033 | ||
เขตหนองแขม Total | 3 | 0.033 | ||
เขตบางรัก | 47,053 | สวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์ | 0.7 | 0.024 |
47,053 Total | 0.7 | 0.024 | ||
เขตบางรัก Total | 0.7 | 0.024 | ||
เขตตลิ่งชัน | 106,753 | สวนมณฑลภิรมย์ | 0 | 0.007 |
106,753 Total | 0 | 0.007 | ||
เขตตลิ่งชัน Total | 0 | 0.007 |
เขต | ประชากร | ชื่อสวน | เนื้อที่ (ไร่) | พื้นที่สีเขียวต่อ ปชก. |
เขตคลองเตย | 112,906 | สวนเบญจกิติ | 130 | 1.842 |
สวนอุทยานเบญจสิริ | 29 | 0.411 | ||
112,906 Total | 159 | 2.253 | ||
เขตคลองเตย Total | 159 | 2.253 | ||
เขตคลองสามวา | 160,480 | สวนวารีภิรมย์ | 121 | 1.206 |
160,480 Total | 121 | 1.206 | ||
เขตคลองสามวา Total | 121 | 1.206 | ||
เขตจตุจักร | 162,838 | สวนจตุจักร | 155 | 1.523 |
สวนวชิรเบญจทัศ | 375 | 3.685 | ||
สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ | 196 | 1.926 | ||
162,838 Total | 726 | 7.133 | ||
เขตจตุจักร Total | 726 | 7.133 | ||
เขตดอนเมือง | 166,354 | สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน | 15 | 0.144 |
166,354 Total | 15 | 0.144 | ||
เขตดอนเมือง Total | 15 | 0.144 | ||
เขตดุสิต | 111,496 | สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติเกียกกาย | 10 | 0.144 |
111,496 Total | 10 | 0.144 | ||
เขตดุสิต Total | 10 | 0.144 | ||
เขตตลิ่งชัน | 106,753 | สวนมณฑลภิรมย์ | 0 | 0.007 |
106,753 Total | 0 | 0.007 | ||
เขตตลิ่งชัน Total | 0 | 0.007 | ||
เขตทวีวัฒนา | 74,592 | สวนทวีวนารมย์ | 54 | 1.158 |
74,592 Total | 54 | 1.158 | ||
เขตทวีวัฒนา Total | 54 | 1.158 | ||
เขตทุ่งครุ | 115,131 | สวนธนบุรีรมย์ | 63 | 0.876 |
115,131 Total | 63 | 0.876 | ||
เขตทุ่งครุ Total | 63 | 0.876 | ||
เขตบางกอกน้อย | 124,352 | สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ | 21 | 0.270 |
สวนสิรินธราพฤกษาพรรณ | 3 | 0.039 | ||
124,352 Total | 24 | 0.309 | ||
เขตบางกอกน้อย Total | 24 | 0.309 | ||
เขตบางเขน | 188,164 | สวนกีฬารามอินทรา | 59 | 0.502 |
สวนวัชราภิรมย์ | 34 | 0.289 | ||
188,164 Total | 93 | 0.791 | ||
เขตบางเขน Total | 93 | 0.791 | ||
เขตบางคอแหลม | 98,870 | สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา | 29 | 0.469 |
98,870 Total | 29 | 0.469 | ||
เขตบางคอแหลม Total | 29 | 0.469 | ||
เขตบางพลัด | 101,276 | สวนจรัญภิรมย์ | 3 | 0.047 |
สวนหลวงพระราม 8 | 20 | 0.316 | ||
101,276 Total | 23 | 0.363 | ||
เขตบางพลัด Total | 23 | 0.363 | ||
เขตบางรัก | 47,053 | สวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์ | 0.7 | 0.024 |
47,053 Total | 0.7 | 0.024 | ||
เขตบางรัก Total | 0.7 | 0.024 | ||
เขตบึงกุ่ม | 147,030 | สวนนวมินทร์ภิรมย์ (บึงลำพังพวย) | 76 | 0.827 |
สวนเสรีไทย | 350 | 3.809 | ||
147,030 Total | 426 | 4.636 | ||
เขตบึงกุ่ม Total | 426 | 4.636 | ||
เขตปทุมวัน | 57,368 | สวนปทุมวนานุรักษ์ | 37 | 1.032 |
สวนลุมพินี | 360 | 10.040 | ||
57,368 Total | 397 | 11.072 | ||
เขตปทุมวัน Total | 397 | 11.072 | ||
เขตประเวศ | 156,567 | สวน 50 พรรษา มหาจักรีสิรินธร | 20 | 0.204 |
สวนวนธรรม (สวนธรรม 70 พรรษา มหาราชินี) | 43 | 0.439 | ||
สวนหลวง ร.๙ | 500 | 5.110 | ||
156,567 Total | 563 | 5.753 | ||
เขตประเวศ Total | 563 | 5.753 | ||
เขตพระนคร | 60,313 | สวนนาคราภิรมย์ (สวนกรมการค้าภายใน) | 3 | 0.080 |
สวนรมณีนาถ | 29 | 0.769 | ||
สวนสราญรมย์ | 23 | 0.610 | ||
สวนสาธารณะสันติชัยปราการ | 8 | 0.212 | ||
60,313 Total | 63 | 1.671 | ||
เขตพระนคร Total | 63 | 1.671 | ||
เขตราชเทวี | 76,233 | สวนสันติภาพ | 20 | 0.420 |
76,233 Total | 20 | 0.420 | ||
เขตราชเทวี Total | 20 | 0.420 | ||
เขตลาดกระบัง | 157,477 | สวน 60 พรรษา สมเด็จพระบรมราชินีนาถ | 61 | 0.620 |
สวนพระนคร (สวนลาดกระบัง) | 50 | 0.508 | ||
157,477 Total | 111 | 1.128 | ||
เขตลาดกระบัง Total | 111 | 1.128 | ||
เขตลาดพร้าว | 122,520 | สวนบึงน้ำลาดพร้าว 71 | 21 | 0.274 |
122,520 Total | 21 | 0.274 | ||
เขตลาดพร้าว Total | 21 | 0.274 | ||
เขตสาทร | 88,179 | สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสมหามงคลพระชนมพรรษา 80 พรรษา | 17 | 0.308 |
88,179 Total | 17 | 0.308 | ||
เขตสาทร Total | 17 | 0.308 | ||
เขตหนองแขม | 145,361 | สวนยอดแขม | 3 | 0.033 |
145,361 Total | 3 | 0.033 | ||
เขตหนองแขม Total | 3 | 0.033 | ||
เขตหนองจอก | 151,292 | สวนหนองจอก | 35 | 0.370 |
151,292 Total | 35 | 0.370 | ||
เขตหนองจอก Total | 35 | 0.370 | ||
เขตห้วยขวาง | 77,292 | สวนพรรณภิรมย์ | 14 | 0.290 |
77,292 Total | 14 | 0.290 | ||
เขตห้วยขวาง Total | 14 | 0.290 |
ส่องนโยบายผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ว่าด้วยการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอย เอกลักษณ์และปัญหาริมทางเท้าที่อยู่คู่กับกรุงเทพฯมายาวนาน และรอการสะสางจากผู้ว่าฯ คนใหม่
กรุงเทพธุรกิจ 29 เมย 65
https://www.bangkokbiznews.com/politics/1001792
“หาบเร่ แผงลอย” เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตในกรุงเทพฯ มายาวนาน ด้านหนึ่งคือเสน่ห์และชื่อเสียงของความเป็นสตรีทฟู้ด ขณะที่อีกด้านคือความสกปรกไร้ระเบียบบนทางเท้า ทั้งยังเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาจราจร
กรุงเทพฯ เป็นเช่นเมืองใหญ่หลายเมืองซึ่งมีผู้คนหลายระดับ และการมีอยู่ของ “หาบเร่ แผงลอย” คือที่พึ่งด้านอาหารสำหรับผู้มีรายได้น้อย เป็นการค้าขายของผู้ค้าต้นทุนต่ำ เป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจฐานราก ที่เชื่อมโยงถึงวงจรขนาดใหญ่ตั้งแต่ ผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้สัญจร รวมถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแล
ผลสำรวจเรื่อง “หาบเร่แผงลอย กับทางเท้าใน กทม.” จากศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” ซึ่งเก็บข้อมูลจากผู้มีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่กรุงเทพมหานคร (กทม.) กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ พบว่า คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 92.12 เคยซื้อของจากหาบเร่แผงลอยบนทางเท้า แต่ถึงเช่นนั้นก็มีถึงร้อยละ 33 ที่มองว่า ปัญหาหาบเร่แผงลอยในกรุงเทพฯ ไม่สามารถแก้ไขได้อย่างแน่นอน
สิ่งที่เกิดขึ้นข้างต้น ทำให้ทุกผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ล้วนมีนโยบายว่าด้วยการจัดการ หาบเร่ แผงลอย ซึ่ง “กรุงเทพธุรกิจออนไลน์” ขอรวบรวมแนวทางจากผู้สมัครฯ เพื่อจินตนาการร่วมกันว่า หากได้ผู้ว่ากทม.คนใหม่ หาบเร่แผงลอย ในกรุงเทพฯ จะมีหน้าตาแบบไหน?
จากเฟสบุ๊ค วิโรจน์ ลักขณาอดิศร
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. เบอร์ 1 พรรคก้าวไกล
- การจัดระเบียบที่ถูกต้อง ไม่ใช่เพียงแค่คำนึงถึงความสะอาดเพียงอย่างเดียว แต่ต้องพิจารณาถึงความจำเป็น วิถีชีวิต และความเป็นธรรมประกอบร่วมกันไปด้วย
- สนับสนุนผู้ค้าจัดระเบียบแผงลอยด้วยตัวเอง เช่น โมเดลปากซอยอ่อนนุช 70
จากเฟสบุ๊ค สกลธี ภัททิยกุล
สกลธี ภัททิยกุล ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม.หมายเลข 3 ผู้สมัครอิสระ
- สร้างความสมดุลระหว่างคนเดินเท้ากับแผงค้า พิจารณาว่าจุดไหนที่พื้นที่ทางเท้าเหลือถึงจะทำแผงค้าได้
- หาแนวทางพิจารณาให้กับคนที่รายได้น้อยมีโอกาสใช้ทำมาหากิน
จากเฟสบุ๊ค เอ้ สุชัชวีร์
สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัครผู้ว่าฯ หมายเลข 4 พรรคประชาธิปัตย์
- เสนอนโยบายขายได้ขายดี ขายของได้ทุกวัน ไม่มีวันหยุด และเป็นคนแรกที่จะ คืนวันจันทร์ให้ผู้ค้า
- นโยบายขายได้ขายดี เทศกิจเป็นมิตรกับผู้ค้า
- มีก๊อกน้ำประปา ห้องน้ำสาธารณะ บริเวณฟุตบาท ให้ก็อกน้ำประปาจะเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานของทุกฟุตบาท เช่นเดียวกับห้องน้ำสาธารณะที่สะอาด ส่วนเรื่องขยะ พ่อค้าแม่ค้าต้องเก็บขยะมัดกองรวมไว้ที่เสาไฟฟ้า
เฟสบุ๊ค อัศวิน ขวัญเมือง
พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 6 ผู้สมัครอิสระ
- คืนความเป็นธรรมให้กับสังคม ทั้งผู้ค้า และคนเดินถนน
- หากได้กลับมาเป็นผู้ว่าฯ ค่อยกลับมาพิจารณาเรื่องนี้กันอีกครั้ง
จากเฟสบุ๊ค รสนา โตสิตระกูล
รสนา โตสิตระกูล ผู้สมัครผู้ว่าฯ หมายเลข 7 ผู้สมัครอิสระ
- เลิกไล่จับหาบเร่แผงลอย
- จัดทำเลขายดีให้ถูกกฎหมายสะอาดปลอดภัย
จากเฟสบุ๊คชัชชาติ สิทธิพันธุ์
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 8 อิสระ
- การจัดการหาบเร่แผงลอยไม่ได้มีต้นแบบเดียว เพราะแต่ละพื้นที่มีบริบทแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นต้องมีคณะกรรมการฯ เข้ามาจัดการและดูแล
- เสนอ กทม. เพิ่มสัดส่วนคณะกรรมการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยระดับเขต เพื่อให้ตัวแทนผู้ค้า ตัวแทนประชาชนและตัวแทนผู้ประกอบการในพื้นที่ มีอิสระในการกำหนดลักษณะและจำนวนแผงค้าที่เหมาะสมและเป็นระเบียบ คำนึงถึงประโยชน์และความเป็นธรรมของทุกฝ่าย
- ร่วมมือกับภาคเอกชนสนับสนุนการพัฒนาลักษณะร้านค้า เช่น ลักษณะสีของร้าน ร่ม ให้สอดคล้องกับที่คณะกรรมการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยระดับเขตกำหนด เช่น พื้นที่ที่อารีย์ซอย 1 ซึ่งเป็นต้นแบบความร่วมมือจัดการระหว่างรัฐและเอกชน
- ตีเส้นแบ่งพื้นที่แผงลอยและทางเดินเท้า
จากเฟสบุ๊ค น.ต.ศิธา ทิวารี – Sita Divari
น.ต.ศิธา ทิวารี ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 11 พรรคไทยสร้างไทย
- ยกระดับ กทม.ให้เป็นเมืองหลวง Street Food ของโลก มีมาตรฐานความสะอาด
- ส่งเสริมให้มีพื้นที่ทำมาหากินสำหรับพ่อค้าแม่ค้าขายคนตัวเล็ก ด้วยกองทุนเครดิตประชาชนเพื่อคนตัวเล็ก ให้พ่อค้าแม่ขายตั้งตัวได้
- จัดโซนสำหรับค้าขายตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงการเพิ่มพื้นที่ค้าขายให้คนกรุงเทพฯ ทั้งการเช่าตึกหรือพื้นที่ที่ปิดตัวจำนวนมากที่อยู่ริมถนน
ทีดีอาร์ไอเสนอจัดระเบียบตามพื้นที่
สำหรับประเด็นการจัดระเบียบ หาบเร่ แผงลอย นี้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) มีข้อเสนอในงานเสวนา “ตรวจการบ้านผู้ว่าฯ เดิม เติมโจทย์ให้ผู้ว่าฯ ใหม่” เมื่อวันที่ 21 เมษายนที่ผ่านมา ซึ่งจัดขึ้นโดยทีดีอาร์ไอ และ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UddC-CEUS) ว่า การทำมาหากิน หาบเร่แผงลอย ควรมุ่งสร้างสมดุลระหว่างผู้ใช้พื้นที่ทางเท้ากลุ่มต่างๆ มากกว่าการห้ามใช้พื้นที่ทางเท้าโดยสิ้นเชิง
การบริหารจัดการหาบเร่แผงลอย ควรพิจารณาแบบรายพื้นที่ ตามโมเดลพื้นที่อัตลักษณ์ ซึ่งให้ผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ร่วมกันกำหนดหลักเกณฑ์ในพื้นที่ และใช้แนวทาง “การกำกับดูแลร่วม” (co-regulation) กับผู้ค้า และจัดหาพื้นที่ถาวรเพิ่มเติมในทำเลที่เหมาะสมมากขึ้น ดังตัวอย่างของสิงคโปร์
วิธีคิดของ กทม.ในการแก้ปัญหาเมืองนั้น ควร “การบริหารจัดการแบบเครือข่าย” (network governance) และปรับบทบาทในการบริหารเมืองจากเป็นผู้ให้บริการ (service provider) เองส่วนใหญ่หรือทั้งหมด สู่การเลือกเล่นบทบาทที่หลากหลาย ตามลักษณะของปัญหาที่ต้องแก้ไข ทรัพยากรและความพร้อมของแต่ละภาคีที่เกี่ยวข้อง
ทั้งหมดคือแนวทางและข้อเสนอว่าด้วย หาบเร่ แผงลอย ในกรุงเทพฯ จากบรรดาผู้สมัคร ซึ่งอีกไม่ถึง 1 เดือนต่อจากนี้ คนกรุงฯ ก็จะได้รู้ว่า หาบเร่ แผงลอย ต่อจากนี้จะมีหน้าตาและแนวทางบริหารเป็นอย่างไร
เนื้อหาย้อนหลังทุกตอน
ติดตาม CitytrailTalk podcast
Podcast: https://citytrailtalk.podbean.com
Spotify : CitytrailTalk
FB : CitytrailRunner
Youtube: CityTrailRunners Channel
IG: CitytrailRunners
Blog : https://citytrailrunners.com/