ท่าวิ่งในทฤษฎี Pose Running และ Chi Running 

Posted by

Podcast EP59 :

ฟังพอดคาสตอนนี้กัน

cr. https://www.facebook.com/Befiteatwell/posts/955317754580811

http://bangkhunthianjoggingclub.com/story_detail.php?story_id=287

ลักษณะการเคลื่อนที่ของเท้าทั้งสองในการวิ่งแบบ Pose Running จะแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ Pose, Fall, และ Pull (แสดงดังภาพ)

Pose: คือการจัดท่าทางร่างกายให้คล้ายอักษร S เข่างอเล็กน้อย จังหวะที่เท้าถึงพื้นและส่งน้ำหนักลงพื้น ร่างกายต้องตั้งอยู่บน BOF “ไหล่..ตระโพก…เท้า”…เป็นเส้นตรงในแนวดิ่ง หรือโน้มไปข้างหน้าเล็กน้อย 


Fall: คือ จังหวะที่ปล่อยให้ร่างกายล้มไปข้างหน้าด้วยแรงดึงดูดของโลก (เท้ายังยันที่พื้น) การเอนตัวไปข้างหน้า เพื่อใช้แรงดึงดูดของโลกช่วยในการวิ่ง การเอนตัวต้องทำจากข้อเท้าและเอ็นร้อยหวาย ไม่ได้มาจากกลางลำตัว เพื่อให้ร่างกายเป็นเส้นตรงตั้งแต่หัวจรดเท้า องศาการเอนตัวขึ้นอยู่กับความเร็วของการวิ่ง ยิ่งวิ่งเร็ว ยิ่งเอนตัวในองศามาก

Pull: คือ จังหวะที่ยกเท้าหลังให้พ้นจากพื้น..แล้วปล่อยลง (โดยยกขึ้นมาตรงๆเพียงพ้นพื้น แล้ววางลงโดยปล่อยให้แรงดึงดูดของโลกดูดลงมา) ช่วงที่ดึงเท้าหรือยกเท้าขึ้นให้อยู่ภายใต้สะโพก และถ่ายทอดน้ำหนักไปที่เท้าอีกข้างหนึ่ง อย่างรวดเร็ว ช่วงจังหวะ Pull ที่สำคัญคือจังหวะการดึงขาด้านหลังกลับในจังหวะที่ส้นเท้าสัมผัสพื้นแล้วเกิดแรงดีดไปข้างหน้า ไม่เร็วหรือช้าเกินไป เพื่อให้ได้รอบขาประมาณ 180 ก้าวต่อนาที 

การวิ่งแบบ Pose Running ไม่ได้เน้นจุดเท้าด้านหลัง (ในจังหวะ Pull) ที่ต้องออกแรงดัน แต่แนะนำให้ลงน้ำหนักที่ ball of foot แล้วเอาส้นแตะพื้นเพื่อสะสมพลังให้เกิดแรงดีดเหมือนสปริง






What are the principles of pose running
เมื่อเปรียบเทียบกับ กับ การลงเท้าที่ไม่ใช้ ball of foot จะเกิดแรงกระแทกที่เข่า และไม่ได้ประโยชน์จะแรงสปริง ภาพจาก https://maxrunningshoes.info/pose-running-method/
ช่วง Pose คือการป้องกันการบาดเจ็บ ช่วง Fall คือการพัฒนา ประสิทธิภาพ และช่วง Pull คือการเพิ่มประสิทธิผล ภาพจาก http://www.crossfitsanitas.com/crossfit-endurance-bolder-boulder-training/

Chi Running

cr. https://runners.onnut.net/2013/03/18/020-chirunning/

คำว่า Chi อ่านว่า ชี่ หมายถึงลมปราณในวรยุทธจีนนั่นแหละครับ (ภาษาญี่ปุ่นจะใช้คำว่า Ki – คิ) การวิ่งแบบนี้จะเน้นหลักการเคลื่อนไหวเหมือน Tai Chi หรือที่ภาษาไทยเราเรียกว่าไทเก๊ก และจะมีการเน้นเรื่องการควมคุมลมปราณหรือการหายใจในตอนวิ่งด้วยครับ

ChiRunning Image

form การวิ่ง

การวิ่งแบบ ChiRunning จะมี form หรือ posture ของร่างกายในการวิ่ง และตำแหน่งวางเท้าจังหวะลงพื้นที่จุด center of mass คล้ายกับการวิ่งแบบ Pose Running นอกจากนั้นยังเป็นการวิ่งที่ไม่ใช้การลงเท้าแบบ heel strike เหมือนกันด้วย บางคนก็เลยค่อนข้างสับสนว่าเทคนิคการวิ่ง 2 อย่างนี้มันต่างกันยังไง ว่าตามความเห็นส่วนตัวของผมนนะครับข้อแตกต่างที่เห็นชัดก็คือการวิ่งแบบ ChiRunning จะเน้นเรื่องการวิ่งได้ไกล,ได้นานและการลดการบาดเจ็บ ไม่ได้เน้นเรื่อง performance แบบ Pose Running

cadence ของการวิ่งแบบ ChiRunning จะมีหลายระดับครับ ในขณะที่แบบ Pose Running จะอยู่ที่ 180 spm (สำหรับนักกีฬาอาชีพจะเกิน 180 spm) ส่วนการลงเท้า Pose Running จะเป็น forefoot strike คือใช้ส่วน ball of foot ในการลงพื้น ในขณะที่ ChiRunning นั้นจะเป็น midfoot strike และนักวิ่งบางท่านอาจจะลงพื้นเป็น flat foot (ลงพื้นไปทั้งฝ่าเท้า)

วิดิโอ Chi Running จาก Danny Dreyer นักวิ่งอัลตร้าชาวอเมริกัน

หลักการของการวิ่งแบบ ChiRunning จะมีอยู่ 6 หัวข้อครับคือ

  • ผ่อนคลายร่างกายในขณะวิ่ง (Relaxation)
  • จัดระเบียบร่างกายในการวิ่งให้ถูกต้อง (Correct alignment and posture)
  • ลงพื้นด้วย midfoot หรือ flat foot (Landing with a midfoot strike)
  • เอียงตัวไปข้างหน้าให้แรงโน้มถ่วงช่วยในการวิ่ง (Using a “gravity-assisted” forward lean)
  • ใช้แรงขับเคลื่อนจากศูนย์กลางของร่างกาย (Engaging core strength for propulsion)
  • ประสานร่างกายและจิตใจในการวิ่งเพื่อช่วยป้องกันการบาดเจ็บ (Connecting the mind and body to prevent injury)

รูปแบบการวิ่งจากการที่ลองดูในคลิปคือ ให้เอียงตัวไปด้านหน้าตัวเราก็เหมือนจะล้ม จากนั้นก็ก้าวขาไปข้างหน้าเพื่อพยุงไม่ให้ตัวเราล้มในขณะที่ตัวก็ยังเอียงอยู่ แล้วก็ทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยให้มี form ที่ถูกแล้วก็เน้นการหายใจให้เป็นจังหวะสม่ำเสมอ ลองศึกษาเพิ่มเติมดูจากคลิปด้านล่างนะครับ

ข้อมูลเรียบเรียงโดย Jirapong L 
ปรับปรุงโดย Taweewut W

1 ความเห็น

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s