ทิศทางการวิ่งเทรลเมืองไทย ขึ้นเขาหรือลงห้วย

EP115 ซิตี้เทรลทอล์คพอดคาส ตอนที่ 115

การวิ่งเทรล (Trail running) เป็นการวิ่งที่เส้นทางวิ่งส่วนใหญ่บนถนนตามธรรมชาติ ผ่านเข้าไปในภูมิประเทศที่มีความแตกต่าง ทั้งเนินสูง ภูเขา ลำธาร ต้องอาศัยทักษะในการวิ่งขึ้น วิ่งลงทางสูงชัน ต้องมีการนำทางทั้งนำทางด้วยสัญลักษณ์ติดตามเส้นทางวิ่งเป็นระยะ หรือ นำทางด้วยอุปกรณ์นำทาง 

บางรายการจะเรียกการวิ่งลักษณะนี้ว่า cross country แต่ IAAF จะเรียกว่า cross country เฉพาะรายการที่แข่งในระยะสั้น 

Photo by Immortal Snapshots on Pexels.com

ประวัติการวิ่งเทรลในเมืองไทย เท่าที่สืบค้นและสอบถามจากผู้ที่อยู่ในวงการวิ่ง 

รายการที่จัดว่าเป็นประเภทการวิ่งเทรลน่าจะเป็นงาน “วิ่งชมสวนมวลไม้ในวรรณคดี” ที่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2531 (32 ปีที่ผ่านมา)  เป็นกิจกรรมแบบ “ครอสคันทรี่ (Cross-country)”  คือ วิ่ง และขี่จักรยานไปในภูมิประเทศ บนพื้นดิน หิน ลูกรัง ผ่านป่าไม้ และภูเขา ระยะทาง 8 km เพื่อส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชน เข้ามาออกกำลังกายในท่ามกลางธรรมชาติ โดยผู้จัดงานเป็นกลุ่มเดียวกับผู้จัดงาน จอมบึงมาราธอน จัดขึ้นที่ “สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีบ้านจอมบึง” และเขาประทับช้าง

จนในปี 2558 ผู้จัดได้เปลี่ยนชื่อเป็น “เขาประทับช้างเทรล” (Kao Pra Thap Chang Trail – KPTC) เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้งานได้รับความสนใจจากนักวิ่งเข้าร่วมจำนวนมากจนถึงปัจจุบัน 

หลังจากนั้นก็มีรายการวิ่งประเภท cross country เล็กๆ จัดขึ้นประปราย เช่น

  • การจัดงาน วิ่งปลูกป่าครอสคันทรี่ ที่ อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ระยะ 5, 12, 25 km (ปี 2551)
  • วิ่งข้ามทุ่ง ครอสคันทรี่ ร.ร. หนองหมื่นถ่านวิทยา มินิมาราธอน ที่ อ.อาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด ระยะ  3, 12.5 km (ปี 2552) 
  • งานเดินวิ่งปั่น ครอสคันทรี่ รักษ์ป่าหนองจาน สายใยผูกพัน สานฝันลูกปันโร ที่ อ.พลับพลาชัย จ.บุรีรัมย์ ระยะ 5.3 km (ปี 2552) 
  • ราชมงคลธัญบุรี ครอสคันทรี มินิมาราธอน ที่ ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปทุมธานี ระยะ 3.5, 9.5 km (ปี 2553) 
  • วิ่งครอสคันทรี่ ขี่เสือกินลมชมธรรมชาติ ต้านยาเสพติด ที่ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ระยะ 10.5 km (ปี 2553)
  • ออมสิน ครอสคันทรี่ แอนด์ ฟันรันเขาใหญ่ ที่ เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ระยะ 13.1 km (ปี 2553)
  • วิ่งครอสคันทรีลดโลกร้อน ที่ อ.ห้วยเม็ก จ.กาฬสินธุ์ ระยะ 9 km (ปี 2554) 

รวมรวมจาก https://www.forrunnersmag.com/events/eventforprint.php?m1=11&y1=2008&m2=1&y2=2015 

แต่ถ้าเป็นรายการวิ่งเทรลที่ได้มาตรฐานและมีนักวิ่งทั้งไทยและต่างชาติเข้าร่วม น่าจะนับเป็นรายการวิ่งเทรลรายการที่ 2 ของเมืองไทย คือ The Columbia Trail Masters 2011 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2554 ณ ต.เขาไม้แก้ว อ.บางละมุง จ.ชลบุรี (ใกล้พัทยา) 

รายการที่ 3 ที่เป็นการจัดงานวิ่งเทรลที่ได้รับความนิยมจากนักวิ่งในวงกว้าง เป็น The North Face 100® Thailand (เดอะ นอท เฟซ 100® ไทยแลนด์) เริ่มจัดการแข่งขันครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2555 ที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งได้ปลุกกระแสการวิ่งอัลตร้ามาราธอนผจญภัย ที่สร้างความท้าทายให้กับเหล่านักวิ่งไทยและนานาชาติ เดอะ นอท เฟซ 100® ไทยแลนด์ นับเป็นการแข่งขันที่มีประเภทระยะ 100 กม. รายการแรกในเมืองไทย ในปี พ.ศ. 2556 เดอะ นอท เฟซ 100® ไทยแลนด์ ได้ย้ายสนามการแข่งขันมาที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา บริเวณใกล้กับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ทำให้นักวิ่งได้สัมผัสกับเส้นทางวิบากผ่านหุบเขา และวัฒนธรรมของชุมชนในอำเภอปากช่อง ถือเป็นเส้นทางที่สร้างประสบการณ์น่าสนใจให้กับนักวิ่งได้เป็นอย่างดี

ในปี 2012 ที่จัดขึ้นที่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสาคร “จ่าสิบเอก ศลชัย ชูสกุล” เป็นผู้ชนะคนแรกของรายการ The North Face 100® Thailand  และ เป็นคนไทยคนแรกที่ชนะการแข่งขันวิ่งอัลตร้าเทรลระยะ 100 กม. แรกของไทยอีกด้วย เข้าเส้นชัยด้วยสถิติ 9:28:24 ชม.

ต่อมาในปี 2013 ที่จัดขึ้นที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา “นายสัญญา คานชัย” นักวิ่งTrail จอมอึดระดับแนวหน้าของเมืองไทย ได้คว้าแชมป์ The North Face 100® Thailand 2013 มาได้ด้วยเวลา 9:47:26 ชม. นับได้เวลาคนไทยเราเป็นแชมป์รายการนี้ 2 ปีติดกันเลยทีเดียว

การจัดการแข่งขันวิ่งเทรล

ระยะที่จัดแข่งวิ่งเทรลมีตั้งแต่ระยะสั้นๆ เช่น 5 km ไปจนมากกว่า 100 miles (161 km) แต่รายการส่วนใหญ่เป็นรายการวิ่งเทรลที่มากกว่าระยะมาราธอน ที่เรียกว่า Ultra Trail Marathon 

นักวิ่งส่วนหนึ่งชอบวิ่งเทรลมากกว่าวิ่งถนน เพราะการวิ่งเทรลไม่ต้องวิ่งอัดเต็มที่ และยังวิ่งไปตามเส้นทางธรรมชาติ มีวิวทิวทัศน์สวยงาม 

การวิ่งเทรลจะมีอุปกรณ์จำเป็นที่แตกต่างจากการวิ่งถนน เช่น 

  • รองเท้าเทรลที่ต้องมีความสามารถในการเกาะทุกสภาพเส้นทาง เบา ป้องกันหินแหลมคม ฯลฯ 
  • เป้น้ำ หรือ ขวดน้ำพกพา 
  • headlamp
  • เสื้อกันลม กันฝน กันหนาว ฯลฯ
  • ฯลฯ

รายการแข่งขันวิ่งเทรลในต่างประเทศ 

รายการวิ่งเทรลไม่ได้มีประวัติยาวนานมากเหมือนการแข่งวิ่งถนน ในปี 2008 มีการจัดราว 160 รายการ แต่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีการจัดราว 2,000 รายการทั่วโลกต่อปีในปัจจุบัน 

ใน US ก็เพิ่งมีองค์กรที่ดูแลการจัดวิ่งเทรล คือ American Trail Running Association จัดตั้งขึ้นในปี 1996 ในอังกฤษก็มี Trail Running Association ที่ตั้งก่อนในปี 1991 และในระดับนานาชาติมี The International Trail Running Association (ITRA) ที่ตั้งขึ้นในปี 2013 โดย IAAF ให้การรับรอง ITRA ในปี 2015

ใน web ของ ITRA รายงานว่า มีนักวิ่งเทรลทั่วโลกในระบบของ ITRA จำนวน 1,781,000 runners

200 nationalities (27/6/2020) 

การให้คะแนนและจัดอันดับนักวิ่งและสนามแข่งขันของ ITRA

General performance index and race category index

เกณฑ์การให้คะแนน ของสนามแข่งขันเทรล จาก ITRA

SizeITRA pointsNew effort pointsEstimated winning time (hours)
xxs0less than 241
xs125 – 441.30 – 2.30
s245 – 742.30 – 5
m375 – 1145 – 8
l4115 – 1548 – 12
xl5155 – 20912 – 17
xxl6more than 210over 17

The ITRA performance index จัดทำขึ้นเพื่อเป็นตัวชี้วัดระดับความสามารถของนักวิ่งเทรล โดยใช้เกณฑ์ความเร็ว The performance index สามารถใช้เปรียบเทียบความเร็วของนักวิ่งเทรลทั่วโลกถึงแม้ว่าจะไม่ได้วิ่งในรายการเดียวกัน 

ดัชนี = 1000 คือระดับความสามารถเท่าสถิติโลก(ทางทฤษฎี) โดยใช้ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของผลการวิ่งที่ดีที่สุด 5 คน (ไม่ขึ้นกับระยะ) ในรอบ 36 เดือนที่ผ่านมา 

ในการคำนวณ ITRA performance index ของแต่ละคน จะเอาผลการวิ่งของนักวิ่ง 5 รายการที่ผ่านมาในรอบ 36 เดือนมาคำนวณแล้วเทียบกับสถิติที่ดีที่สุด (ดัชนี = 1000) ก็จะได้เป็น index ของแต่ละคน แต่ถ้าคนไหนมีรายการไม่ครบ 5 รายการ ระบบจะสร้าง simulated results จากสถิติที่ผ่านมา

The ITRA race score คำรวณจากเวลาจบของนักวิ่ง (finish time) ระยะทาง (distance) และ ระยะไต่ความสูงของเส้นทาง (elevation gain) 

ITRA จะคำนวณระยะทางเทียบเท่าทางเรียบ (equivalent flat distance) = distance + positive elevation gain + negative elevation gain

จากนั้นก็นำเอาเวลาที่วิ่งได้ (finish time) มาเปรียบเทียบกับ a theoretical best possible performance for this ‘flat distance’ (1000 points) แล้วนำคะแนนมาปรับด้วย technical factors อื่นๆ เช่น the terrain, weather conditions, altitude and time of day.

ITRA point เป็นคะแนนที่กำหนดให้ในแต่ละสนาม สำหรับนักวิ่งเมื่อวิ่งจบตามเวลาที่กำหนด ก็จะได้ ITRA point นั้น (ในเว็บ ITRA ไม่ได้ให้รายละเอียดในการให้คะแนนในแต่ละสนาม)

จากการจัดอันดับตาม Running Performance Index

TOP 5 MEN

Jim WALMSLEY 954

Kilian JORNET BURGADA 950

Petro MAMU 930

Davide MAGNINI 927

Stian ANGERMUND 924

TOP 5 WOMEN

Maude MATHYS 806

Courtney DAUWALTER 805

Ruth CROFT 800

Judith WYDER 797

Andrea MAYR 794

7 สนามอัลตร้าที่ดีที่สุดในโลก

(ตามมุมมองของ Letsdothis – running tour operator, office in US, UK, Australia) 

The list of best ultra-marathons in the world:

1. Comrades Marathon (Africa)

เส้นทางวิ่งจาก Durban to Pietermaritzburg (or Pietermaritzburg to Durban)

87km/54 miles uphill or 90 km/56 miles downhill in a 12 hour time-limit

Takes in ‘The Big Five’ hills with a highest elevation of 2,850ft/870m above sea level

เป็นรายการ ultramarathon ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก จัดขึ้นครั้งแรกในปี 1921 

รายการที่น่าสนใจที่คล้ายกับรายการนี้

Marathon des Sables, Morocco: 251km in the Sahara Desert

Namib Race, Namibia: 250km in the Skeleton Coast National Park

2. The Last Desert (Antarctica)

เส้นทางวิ่ง: เป็นเส้นทางบนภูมิประเทศของ Antarctic Peninsula รวมถึง King George Island, Deception Island, and Paradise Bay ระยะ 250km multi-stage event ตอนกลางคืนต้องนอนบนเรือ 

รายการที่น่าสนใจที่คล้ายกับรายการนี้

The Arctic Ice Marathon and 100k

3. La Ultra – The High (Asia)

เส้นทางวิ่งไปในเทือกเขาหิมาลัยของอินเดีย เริ่มจาก Nubra Valley ไปยัง แม่น้ำสินธุ จบที่ Morey Plains of the Changtang plateau ระยะ 333km/207 miles in 72 hour time limit. Including three 17,500ft+ mountain passes.

รายการที่น่าสนใจที่คล้ายกับรายการนี้

The Grand Raid Reunion: 100 miles at La Reunion Island, in the Indian Ocean, with 9,643m elevation

Gobi March, 250km in the Gobi Desert of Mongolia

4. Ultra-Trail Australia (Australasia/Oceania)

เส้นทางวิ่งใน In the Blue Mountains National Park in New South Wales ระยะ 100km/62.1 miles (there is a 50km option as well)

รายการที่น่าสนใจที่คล้ายกับรายการนี้

Tarawera Ultra: 100 miles exploring the lakes, forests and waterfalls of New Zealand

Kepler Challenge: 60km through Fiordland National Park, NZ.

5. Ultra-Trail du Mont-Blanc (Europe)

เส้นทางวิ่ง ตามเส้นทาง the Tour du Mont Blanc in France, Italy, and Switzerland (เส้นทางนี้เปิดให้เดินทวนเข็มนาฬิกา ใช้เวลาเดิน 11 วัน แต่นักวิ่ง elite ใช้เวลา 22 hrs (M) 26 hrs (F)). Based in Chamonix, France. ระยะทาง 171km/106 miles, single-stage race with a total elevation gain of 10,040m/32,940ft

รายการที่น่าสนใจที่คล้ายกับรายการนี้

Spartathlon, Greece: 153 miles/246km in under 36 hours from Athens to Sparta, in the footsteps of Pheidippides. 

Dragon’s Back Race, Wales: 315km in 6 days, with average daily climbing of 3,100m

6. Western States Endurance Run (North America)

เส้นทางวิ่ง Sierra Nevada Mountains, California. เริ่มจาก Squaw Valley ไปจบที่ Auburn’s Placer High School. ระยะ 161km/100 miles single-stage event, with cumulative elevation gain of 18,090ft/5,500m

รายการที่น่าสนใจที่คล้ายกับรายการนี้

Badwater Ultra: 135 miles around Death Valley and the Inyo mountains, with temperatures up to 54 degrees celsius. 

Hardrock Endurance Run: 100 miles in 48 hours on Southern Colorado’s San Juan Range

7. The Jungle Ultra (South America)

เส้นทางวิ่ง ในป่าดงดิบอเมซอน (Amazon Rainforest of Manu National Park) ในประเทศ Peru from the Andes mountains to the Madre de Dios River ระยะ 230kms in five stages with humidity above 77%

รายการที่น่าสนใจที่คล้ายกับรายการนี้

Atacama Crossing, Chile: 250km in 7 days in the Atacama desert

Half Marathon des Sables, Peru: 120km in 3 days through the Ica desert

อันดับนักวิ่งอัลตราเทรลแนวหน้า (Elite Athletes) 10 อันดับ 

by Redbull

เกณฑ์ในการจัดอันดับของ Redbull จะรวบรวมนักวิ่งแนวหน้าระยะ 50-100 ไมล์ (80-160 km) จากรายการ Ultra ของโลก (flagship events) เช่น the Western States 100, the Hardrock 100 and the Ultra-Trail du Mont-Blanc

https://www.redbull.com/int-en/best-male-ultra-runners

1. Ryan Sandes, Born: March 10, 1982 – Nationality: South African, Insta: @Ryansandes

ถ้าคุณรักในสิ่งที่ทำ มันจะประสบความสำเร็จไม่ยาก ผมชอบตั้งเป้าหมายที่ท้าทายและไม่มีวันหยุดจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายนั้น คุณจะเรียกผมว่า ผมเป็นพวกกัดไม่ปล่อย ก็ได้ เพราะผมจะไม่หยุด จนกว่าจะไปถึงเป้าหมายนั้น

“If you love what you do, it is easy to be successful. I like setting myself challenging goals and not stopping until I achieve them. I suppose you could call me stubborn determined – I don’t stop until I achieve me goal.”

2. Kilian Jornet, Born: October 27, 1987 – Nationality: Spanish, Insta: @Kilianjornet

ผมชอบที่จะไต่ขึ้นเขาทุกวัน ผมชอบวิ่งทั้งยาวทั้งสั้น เก็บเกนเป็นกิโล แข่งสกีก็ชอบ ปีนเขาขึ้นยอดสูงสุด หรือจะไต่ไปตามเทือกเขาที่ทอดยาว ทุกอย่างมันทำให้ผมรู้สึกแตกต่างและเต็มเปี่ยมอย่างมีความหมาย

“I like being able to be on the mountain every day. I like to run long and short races, vertical kilometers, mountain ski races, crossings, summits, to chain mountains… all bring me different and enriching things.”

3. Pau Capell, Born: September 10, 1991 – Nationality: Spanish, Insta: @PauCapell

ทุกรายการวิ่งมันแตกต่าง ก็ต้องวางกลยุทธ์ที่แตกต่างไป แต่แรงบันดาลใจของผมยังคงเหมือนเดิม คือ สนุกกับการซ้อมและทำให้ดีที่สุดเมื่อลงแข่งขัน ถ้าจะให้ประสบความสำเร็จ 100% คุณต้องมีความสุขกับมัน

“Every race is different, so the strategy is different in every race. My motivation is always the same: enjoy training and do my best when I am competing. You need to enjoy it to be able to achieve 100 percent.”

4. Jim Walmsley, Born: January 17, 1990 – Nationality: American, Insta: @walmsleyruns

คุณต้องฝันให้ยิ่งใหญ่ ถ้าคุณไม่ฝันอย่างนั้น คุณก็จะไม่เห็นตัวคุณบรรลุเป้าหมาย ไม่ว่าคุณจะพูดมันออกมาหรือไม่ แต่คุณต้องเชื่อมั่นในตัวคุณว่าทำได้

“You have to dream big. If you can’t, if you don’t see yourself reaching those goals, you’re never going to do it. Whether you’re a person that talks about it or not, you have to believe in yourself.”

5. Xavier Thevenard, Born: March 6, 1988 – Nationality: French, Insta: @xavierthevenard

ในการวิ่งอัลตร้า สิ่งสำคัญพื้นฐานคือ การจัดการและการอดทน ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น จะมีเงื่อนไขหรือไม่เป็นไปตามคาด ขอเพียงมีสติ มีสมาธิ พร้อมกับสิ่งสำคัญคือความอดทน

“In ultra, the fundamental values ​​are management and patience. Whatever the issue, the conditions or the unexpected, it is all about staying calm and focused. Patience is the key.”

6. Francois D’Haene, Born: December 24, 1985 – Nationality: French, Insta: @francois_dhaene

ผมรักษาแรงจูงใจในการวิ่งอัลตร้าได้โดยไม่ลงรายการมากเกินไป และหลังรายการแข่งต้องพักฟื้นฟูให้พอ จัดตารางในแต่ละฤดูการแข่งขันให้ดีและมีเป้าหมายไม่กี่รายการก็พอ สิ่งสำคัญสำหรับผมคือการเลือกรายการแข่งและรู้ว่าเมื่อไรควรลงและไม่ควรลงแข่ง

“I keep my motivation by not doing too many races and taking time to recover from them, scheduling the season very well for just a few goals. It’s important for me to choose races carefully and to know when to stop.”

7. Tom Evans, Born: 1992 – Nationality: English, Insta: @tomevansultra

ผมชอบรายการที่สุดขั้ว มันให้ความความซับซ้อนและมีชีวิตชีวาตลอดการแข่งขัน ผมจะรู้สึกสนุกสนานในการเตรียมตัวเพื่อรายการนั้นๆ ทุกอย่างเป็นทักษะที่ต้องเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกิน การปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศ การวางแผนและการฝึกซ้อมที่เหมาะสม 

“I love racing in extremes as I think it adds complexity and another dynamic into the racing. I also really enjoy preparing specifically for a race. Getting nutrition, acclimatization, your race plan and training right is such a skill.”

8. Damian Hall, Born: November 17, 1975 – Nationality: English, Insta: @ultra_damo

ผมไม่ได้ไปงานแต่งญาติเพื่อไปวิ่ง UTMB ไม่ได้ร่วมงานวันเกิดพ่อครบ 70 ปีเพียงแค่ลง B race และจำได้ไม่ได้ว่าละเลยกิจกรรมที่เกี่ยวกับครอบครัวไปกี่ครั้ง ผมไม่คิดว่าผมยังเหลือเพื่อนนอกวงการวิ่ง แต่ผมรู้สึกคุ้มค่าที่ได้วิ่ง

“I’d missed my cousin’s wedding for the UTMB, my dad’s 70th birthday for a B race and I’d neglected my wife and kids more times than I remember. I don’t think I have any non-running friends left. But it all felt worth it.”

9. Ruy Ueda, Born: October 3, 1993 – Nationality: Japanese, Insta: @uedaruy

ชัยชนะมันยอดเยี่ยมแน่นอน แต่ดีกว่านั้นถ้าเป็นนักวิ่งที่โดดเด่นในรายการนั้น ตอนผมอายุ 19 ผมพยายามวิ่งถนน 100k มันน่าตื่นตาตื่นใจแต่มันเหนื่อยเกินไป ผมเลยเลือกลงแข่งเฉพ่าะระยะที่สั้นกว่า 100k แต่ก็ยังชอบวิ่งระยะไกล

“Winning is cool, but dominating the race is even better. When I was 19, I tried 100k on the roads. It was amazing, but I was very tired. I get very tired from long races, so I choose shorter races but I also like long races.”

10. Dylan Bowman, Born: March 24, 1986 – Nationality: American, Insta: @dylanbo

หลังจากจบมาราธอนแรก ผมเกือบตาย แต่แค่วันถัดมา ผมก็คิดถึงมัน ตราบใดที่คุณแรงปรารถนาเต็มเปี่ยมที่จะวิ่งเข้าเส้นชัย คุณก็สุดยอดแล้ว คุณจะประหลาดใจและประทับใจในตัวคุณ

“After my first marathon I remember being totally destroyed at the finish and then completely obsessed the next day. As long as you have an intense, deep-rooted desire to finish, you’re golden. You will surprise and impress yourself.”

Ultra Trail World Tour

1 กันยายน 2013 ในเมือง Chamonix

Race directors ที่มีชื่อเสียง 8 คน รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มรายการวิ่ง นำโดย UTBM และ Marathon des Sables (Marathon of the Sands) โดยเลือก 10 รายการแข่งขันในกลุ่ม Ultra-Trail® World Tour ในปี 2014 ครั้งแรก คือ 

Vibram® Hong Kong 100 (China)

The North  Face® Transgrancanaria (Spain)

Vibram® Tarawera Ultramarathon (New Zealand)

Marathon des Sables (Morocco)

Ultra Trail Mt. Fuji® (Japan)

The North Face® 100 Australia (Australia)

The North Face® Lavaredo Ultra Trail (Italy)

The Western States 100 Mile Endurance Run (USA)

The North Face® Ultra-Trail du Mont-Blanc® (France, Italy, Switzerland)

La Diagonale des Fous (Reunion Island, France)

ในปี 2015: มี 2 รายการเพิ่มขึ้น คือ the Eiger Ultra-Trail® (Switzerland) and Madeira Island Ultra-Trail® (Portugal).

WingNaiDee Runners’ Choice 2019 ประเภท Trail / Cross Country

ก้าวเข้าสู่ปีที่ 5 แล้วกับ WingNaiDee Runners’ Choice การจัดอันดับงานวิ่งที่ดีที่สุดในระยะต่าง ๆ ของแต่ละปี โดยคะแนนทุกคะแนนและทุก ๆ ความคิดเห็นจะมาจากเพื่อน ๆ นักวิ่งชาว ‘วิ่งไหนดี’ สำหรับปี 2019 ที่ผ่านมานั้นต้องบอกว่าเป็นอีกหนึ่งปีที่บ่งบอกได้ว่าวงการวิ่งของเราเติบโตขึ้นทุกปีจริง ๆ มีงานวิ่งเกิดขึ้นเยอะมาก ๆ เมื่อเทียบกับปี 2018 ที่มีงานวิ่งประมาณ 1,400 งาน แต่สำหรับในปี 2019 นั้นมีมากกว่า 2,000 งานเลยล่ะครับ

สำหรับวันนี้เรามาดูกันในส่วนของงานวิ่งยอดเยี่ยมประจำปี 2019 ประเภท “Trail / Cross Country” ที่ได้รับเสียงโหวตจากเพื่อน ๆ วิ่งไหนดีเยอะที่สุด 10 อันดับแรก มีงานไหนบ้างจะเป็นงานที่ตรงกับใจของเพื่อน ๆ รึเปล่าลองมาดูกันครับ

1. BigBlue MST 2019

วันที่จัด: 9 พฤศจิกายน 2019

สถานที่: ดอยแม่สลอง

จังหวัด: เชียงราย

เป็นงานวิ่งที่มีบรรยากาศแสนอบอุ่นของชุมชนพื้นเมือง รวมถึงตลอดเส้นทางนักวิ่งยังได้สัมผัสกับบรรยากาศธรรมชาติป่าเขาตลอดเส้นทาง การจัดการต่าง ๆ สามารถทำได้อย่างเรียบร้อยตัวงานต่อเนื่องไม่ติดขัด นักวิ่งหลาย ๆ คนให้ความเห็นว่านี่เป็นงาน Trail ที่ประทับใจที่สุดงานหนึ่งสำหรับปี 2019 และปีหน้าจะกลับมาอีกแน่นอน

โดยรวมได้รับคะแนนจากเพื่อน ๆ นักวิ่งไปสูงถึง 4.89/5 คะแนน และคว้าอันดับ 1 ไปครอง

2. Mae Hong Son Cross Country 2019

วันที่จัด: 15 กันยายน 2019

สถานที่: ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน

จังหวัด: แม่ฮ่องสอน

มาถึงอันดับที่ 2 กันแล้วกับงานที่เคยติดอันดับงานวิ่งยอดเยี่ยมไปเมื่อปี 2018 และในปีนี้ยังคงเอกลักษณ์ทางวิ่งแห่งขุนเขาเอาไว้อย่างเช่นเคย ใครที่ชอบบรรยากาศธรรมชาติของภูเขาจะต้องถูกใจงานนี้แน่นอน นอกจากจะได้วิ่งในบรรยากาศป่าเขาแล้ว เหล่านักวิ่งยังได้สัมผัสความอบอุ่นของชุมชนกะเหรี่ยงอีกด้วยครับ ในส่วนของการจัดการต่าง ๆ ของทีมงานก็สามารถดูแลได้ทั่วถึงเรียบร้อย งานนี้จึงเป็นอีกหนึ่งงานที่น่าประทับใจมาก ๆ ของปี 2019

โดยรวมได้รับคะแนนจากเพื่อน ๆ นักวิ่งไปสูงถึง 4.88/5 คะแนน และคว้าอันดับ 2 ไปครอง

3. Run for Bangban cross-country 2019

วันที่จัด:13 ตุลาคม 2019

สถานที่: ศูนย์ประสานงานจัดตั้งสถาบันธรรมชัย

จังหวัด: พระนครศรีอยุธยา

หากใครเป็นสายกินงานนี้คือคำตอบครับ เพราะว่างานนี้นอกจากจะวิ่งกันสนุกสนานแล้ว ด้านอาหารการกินเขาจัดเต็มจริง ๆ มีให้กินแบบว่าเยอะมากกกกก การจัดการต่าง ๆ ก็สามารถจัดออกมาได้เป็นระเบียบ เพื่อน ๆ ให้ความเห็นสำหรับงานนี้ว่าค่าสมัครหลักร้อยแต่บริการและความประทับใจหลักพัน!

โดยรวมได้รับคะแนนจากเพื่อน ๆ นักวิ่งไปสูงถึง 4.84/5 คะแนน และคว้าอันดับ 3 ไปครอง

4. CM6 2019

วันที่จัด: 3 ส.ค. 2019 – 4 ส.ค. 2019

สถานที่: ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่

จังหวัด: เชียงใหม่

สายโหดสายฮาร์ดคอร์ถูกใจสิ่งนี้ กับงาน CM6 ที่ต้องบอกว่าโหดแบบจัดหนักจัดเต็มมาแต่ไหนแต่ไร สำหรับงาน CM6 นั้นเคยติดอันดับงานวิ่งยอดเยี่ยมของเราไปเมื่อปี 2017 มาแล้วอีกด้วย ซึ่งสำหรับปีนี้ยังคงความหฤโหดอย่างที่บอกไว้ตอนต้น เพื่อน ๆ นักวิ่งได้ลุยป่าเขาลำเนาไพร และนอกจากนี้การจัดการของทีมงานยังค่อนข้างพร้อมมาก ๆ น้ำท่าอาหารมีค่อนข้างครบเลยล่ะ

โดยรวมได้รับคะแนนจากเพื่อน ๆ นักวิ่งไปสูงถึง 4.83/5 คะแนน และคว้าอันดับ 4 ไปครอง

5. Singha Park Chiang Rai Cross Country Run 2019

วันที่จัด: 2 กุมภาพันธ์ 2019

สถานที่: สิงห์ปาร์ค เชียงราย

จังหวัด: เชียงราย

สำหรับงานอันดับที่ 5 ของปีนี้ เป็น 1 ใน 5 สนามของ Singha Series Run ซึ่งสำหรับสนาม Singha Park Chiang Rai Cross Country Run นั้นเคยติดอันดับงานวิ่งยอดเยี่ยมมาแล้วเมื่อปี 2018 และสำหรับในปี 2019 นี้ เพื่อน ๆ นักวิ่งบอกกับเราว่าเหนื่อยแต่สนุก เพราะนอกจากบรรยากาศตลอดทางวิ่งจะดีมาก ๆ แล้วพี่ป้าน้าอากองเชียร์ก็เชียร์กันแบบเต็มที่จริง ๆ ในส่วนของทีมงานก็มีเยอะดูแลนักวิ่งอย่างทั่วถึง

โดยรวมได้รับคะแนนจากเพื่อน ๆ นักวิ่งไปสูงถึง 4.79/5 คะแนน และคว้าอันดับ 5 ไปครอง

6. Khanom Trail 2019

วันที่จัด: 3 พฤศจิกายน 2019

สถานที่: อ.ขนอม นครศรีธรรมราช

จังหวัด: นครศรีธรรมราช

ปีหน้าเจอกัน! เพื่อน ๆ ให้ความเห็นว่าปีหน้าต้องกลับมาอีกแน่นอน เพราะโดยรวมปีนี้ผู้จัดสามารถจัดออกมาได้แบบลงตัวมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของทางวิ่งที่สวยงามมีความปลอดภัย การบริการต่าง ๆ ของทีมงานสามารถทำได้ดี ในส่วนที่เพื่อน ๆ อยากให้ผู้จัดพัฒนาในปีถัดไปคือในเรื่องของอาหารหลังเข้าเส้นชัยครับ

โดยรวมได้รับคะแนนจากเพื่อน ๆ นักวิ่งไปสูงถึง 4.75/5 คะแนน และคว้าอันดับ 6 ไปครอง

7. Tiger Balm Trail Challenge 2019 Pattaya

วันที่จัด: 9 มิถุนายน 2019

สถานที่: Horseshoe Point Resort, Pattaya

จังหวัด: ชลบุรี

Tiger Balm Trail Challenge Pattaya เคยติดอันดับงานวิ่งยอดเยี่ยมเมื่อปี 2017 และได้อันดับที่ 2 ใน WingNaiDee Runners’ Choice ครึ่งปีแรกของปี 2019 และเมื่อจบปี 2019 ก็ยังคงอยู่ใน 10 อันดับงานวิ่งที่เพื่อน ๆ โหวตให้เป็นงานวิ่งยอดเยี่ยมประจำปีได้สำเร็จ สำหรับจุดเด่นของงานนี้ก็คือ เส้นทางดี บรรยากาศดี โหด มันส์ ฮา รวมอยู่ในงานนี้ทั้งหมดเลยล่ะ เพื่อน ๆ นักวิ่งบอกว่าสำหรับสนามนี้มีพี่ ๆ ทีมงานคอยดูแลแบบทั่วถึง น้ำและอาหารก็มีบริการเพียงพอต่อนักวิ่งแบบไม่มีขาด

โดยรวมได้รับคะแนนจากเพื่อน ๆ นักวิ่งไปสูงถึง 4.70/5 คะแนน และคว้าอันดับ 7 ไปครอง

8. Kao Pratubchang Trail 2019

วันที่จัด: 16 มิถุนายน 2019

สถานที่: สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีภาคกลาง อ.จอมบึง

จังหวัด: ราชบุรี

ดูเหมือนสิ่งที่จะทำให้เพื่อน ๆ นักวิ่งสาย Trail ประทับใจในงานนี้นอกจากเส้นทางที่วิ่งสนุกแล้วคงเป็นในเรื่องของการดูแลของพี่ ๆ ทีมงาน น้ำและผลไม้มีให้นักวิ่งแบบไม่ขาด รวมถึงอาหารก็มีให้เลือกทานได้แบบหลากหลาย และเมื่อดูจากสถิติแล้วไม่แปลกใจเลยที่เพื่อน ๆ จะชื่นชอบงานนี้เพราะว่า Kao Pratubchang Trail ติดอันดับงานวิ่งยอดเยี่ยมเป็นปีที่ 3 ติดต่อกันแล้ว (2017, 2018 และปีล่าสุด 2019)

โดยรวมได้รับคะแนนจากเพื่อน ๆ นักวิ่งไปสูงถึง 4.64/5 คะแนน และคว้าอันดับ 8 ไปครอง

9. PSK Trail 2019

วันที่จัด: 17 กุมภาพันธ์ 2019

สถานที่: สวนป่าเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กาญจนบุรี

จังหวัด: กาญจนบุรี

หลังจากติดอันดับงานวิ่งยอดเยี่ยมประจำครึ่งปีแรกของปี 2019 ไปแล้ว เมื่อสรุปผลทั้งปี PSK Trail 2019 ก็ยังคงอยู่ในลิสต์รายชื่องานวิ่งยอดเยี่ยมไม่เปลี่ยนแปลงครับ งานนี้พี่ ๆ ทีมงานสามารถดูแลอำนวยความสะดวกให้เพื่อน ๆ นักวิ่งได้อย่างทั่วถึง ทำให้การวิ่งนั้นแทบไม่ติดขัดเลย น้ำดื่ม ผลไม้ และจุดบริการต่าง ๆ มีตลอดเส้นทางไม่มีขาด และเมื่อวิ่งเสร็จก็มีอาหารรอคอยเพื่อน ๆ อยู่แบบว่าเยอะมาก!

โดยรวมได้รับคะแนนจากเพื่อน ๆ นักวิ่งไปสูงถึง 4.59/5 คะแนน และคว้าอันดับ 9 ไปครอง

10. Tanaosri Trail ตะนาวศรี เทรล 2019

วันที่จัด: 8 ธันวาคม 2019

สถานที่: อุทยานธรรมชาติวิทยา

จังหวัด: ราชบุรี

Tanaosri Trail เคยติดอันดับงานวิ่งยอดเยี่ยมประเภท Trail ในปี 2015, 2016 มาแล้ว และปี 2019 นี้ Tanaosri Trail ก็สามารถกลับมาติด 1 ใน 10 งานวิ่งยอดเยี่ยมได้อีกครั้ง สำหรับงานในปีนี้เป็นอีกหนึ่งงานที่นักวิ่งสายโหดไม่ผิดหวัง เพราะทางนั้นค่อนข้างโหดใช้ได้เลยล่ะ เพื่อน ๆ ที่เคยมาเมื่อปีที่แล้วบอกว่าปีนี้ก็โหดไม่แพ้กัน! ในส่วนที่เพื่อน ๆ นักวิ่งอยากให้ผู้จัดพัฒนาในปีถัดไปคือเรื่องของการจัดการน้ำและอาหารที่ยังไม่เพียงพอครับ

โดยรวมได้รับคะแนนจากเพื่อน ๆ นักวิ่งไปสูงถึง 4.54/5 คะแนน และคว้าอันดับ 10 ไปครอง

ใส่ความเห็น