Strava Running Statistics 2019

ฟังพอดคาสตอนนี้กัน

Strava มีผู้ใช้ 48 ล้านคน ในรายการ Tour de France มีคนใช้ Strava ครึ่งหนึ่ง และใน Boston Marathon มีคนใช้ Strava ถึง 1 ใน 3 

19 ล้านกิจกรรมถูกบันทึกด้วย Strava ทุกสัปดาห์

1 ล้านนักกีฬาหน้าใหม่สมัครใช้ Strava ทุกเดือน 

195 ประเทศ สัญชาตินักกีฬา

33 ประเภทกีฬาที่บันทึกลง Strava

นักวิ่งจะเริ่มซ้อมตอน 6am มากที่สุด ถ้ามากันเป็นกลุ่ม จะเริ่มกันตอน 5am มากที่สุดถึง 29% ถ้าเป็นจักรยาน การซ้อมเป็นกลุ่ม จะได้ระยะทางมากกว่าซ้อมเดี่ยวถึง 2 เท่า

นักวิ่งญี่ปุ่นที่ใช้ Strava วิ่งจบระยะมาราธอนหรืออัลตร้ามาราธอนถึง 23.8% มากกว่า US ที่มีเพียง 7.6% (อาจเป็นเพราะนักวิ่งญี่ปุ่นระยะมาราธอนขึ้นไปนิยมใช้ Strava ระยะอื่นอาจนิยมน้อยกว่า)

ที่น่าประหลาดใจของคนที่บันทึกระยะ ultramarathon ที่มีถึง 51% ไม่มีบันทึกการวิ่งระยะมาราธอน (วิ่งสั้นไม่บันทึกลง Strava หรือ ออกวิ่งทีก็วิ่งกันยาวเกินมาราธอน)

ถ้ามาดู Running Gear (รองเท้า) ปี 2019 มีการเติบโต (อัตราการเพิ่มการใช้) รองเท้า Hoka One One Carbon X ขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ตามด้วย Adidas Solar Glide เป็นอันดับ 2 ส่วนอันดับที่ 3 เป็นของ New Balance Fresh Foam Beacon และ Adidas Solarboost กับ Hoka One One Torrent เป็นอันดับ 4 และ 5 ตามลำดับ

แต่ถ้าไปดูเฉพาะงาน Boston Marathon ที่ชุมนุมขาแรง รองเท้าที่ขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ได้แก่ Nike Zoom Vaporfly 4% ตามด้วย Nike Pegasus, Hoka One One Clifton, Nike Zoom Fly, และ Saucony Kinvara เป็นอันดับ 2, 3, 4, และ 5 ตามลำดับ ขาแรงในงาน Boston ใส่ Adidas กันน้อย ถ้าไปเก็บสถิติในงาน Berlin Marathon ผลอาจจะกลับด้านก็ได้

แต่ถ้าไปดูที่ข้อมือ นาฬิกาส่วนใหญ่กลับเป็น Polar Vantage M (ยี่ห้อที่นักวิ่งไทยไม่รู้จักเลย) มาเป็นอันดับ 1 ตามด้วย Garmin Forerunner 945 และ Instinct อาจจะเป็นเพราะว่า นาฬิกาที่ติดอันดับเหล่านี้เพิ่งออกมาในช่วงปลายปี 2018 ซึ่งเป็นช่วงที่ Strava เริ่มเก็บข้อมูล แต่ก็น่าสนใจที่ว่า Suunto ไม่ติดอันดับเลย 

แต่ถ้าเจาะไปดูข้อมูลแบบละเอียด 

ถ้าเป็นสายความเร็ว คนที่ใส่รองเท้า Nike ZoomX Vaporfly Next% มี average pace ถึง 5:04 min/km (8:06 min/mi) ความเร็วเฉลี่ยรองลงมาคือคนที่ใส่รองเท้า Nike Zoom Vaporfly 4%, Nike Zoom Streak, Brooks Hyperion, และ Adidas Adizero Adios ตามลำดับ

สถิตินี้ตีความ 2 แบบ คือ ใส่รองเท้าเหล่านี้แล้ววิ่งเร็วขึ้น หรือ คนที่วิ่งเร็วนิยมใส่รองเท้าเหล้านี้ แต่ผมได้รับการบอกมาว่า อยากวิ่งเร็ว ให้ใส่สีชมพู

แต่ถ้าเป็นสายอึด วิ่งไกล คนที่ใส่รองเท้า Salomon Ultra Pro จะวิ่งได้ระยะเฉลี่ย 10.72 km ตามด้วย Hoka One One EVO Mafate, La Sportiva Akasha, Salomon Sense Pro, และ New Balance Fresh Foam Hierro ตามลำดับ ถ้าเป็นสถิติในประเทศไทย หน้าตารองเท้าของสายอึด วิ่งไกล จะไม่เป็นแบบนี้

ที่น่าสนใจคือ การ upload activities ขึ้นบน Strava พบว่า นักวิ่งที่ upload การวิ่งอย่างเดียวลดลงทุกปี จากปี 2015 ที่มีประมาณครึ่งหนึ่งที่วิ่งอย่างเดียวไม่ทำกิจกรรมอื่นๆ ลดลงเหลือประมาณ 40% ในปี 2019 คือมีนักวิ่งจำนวนมากหันไปออกกำลังแบบอื่น จะเป็น Yoga, Weight Training หรือ Cycling เป็นการออกกำลังกายแบบ Cross Training ช่วยให้ Performance โดยรวมดีขึ้น สถิติของนักขี่จักรยานก็เป็นไปในทางเดียวกับนักวิ่ง

ถ้าดูข้อมูลจากคนที่ใช้ Strava Summit พบว่า คนที่ตั้งเป้าหมายตั้งแต่เดือนมกราคม มีแนวโน้มที่จะซ้อมเพื่อไปถึงยังเป้าหมาย คนที่เลิกล้มหรือซ้อมน้อยลงมีแค่ 5% ต่างจากคนที่ไม่ได้ตั้งเป้า สัดส่วนคนที่ยังคงเส้นคงวาในการซ้อมไปถึงเป้าหมายลดลงเหลือเพียงแค่ 87% (เลิกหรือซ้อมน้อยลงไปถึง 13%) 

สถิตินี้สอดคล้องกับความรู้สึกครับว่า ถ้าอยากจะบรรลุเป้าหมาย ต้องตั้งมันก่อนแล้วมุ่งหน้าไปยังเป้าหมายนั้น

ถ้าเอาความเร็วเฉลี่ยของคนที่วิ่งมาราธอนมาสร้่างกราฟการกระจายตัว (distribution) กราฟมีลักษณะเป็นแบบ Lognormal Distribution มีตัวเลขที่น่าสนใจมากคือ Median = 3:58:25 ชั่วโมง ส่สนค่าเฉลี่ยธรรมดา (arithmetic mean) น่าจะไม่เกิน 4:30 ชั่วโมง แต่ถ้าดูค่ากลางอีกตัวที่เรียกว่า Mode หรือ Most Likely จะพบอยู่ราวๆ 3:45 ชั่วโมง ถือว่าเร็วทีเดียวเลยครับ

สรุปตัวเลขโดยรวมครับ

ทั่วโลก มีคนบันทึกการวิ่งไปในปี 2019 (1/10/2018 – 30/9/2019)

ระยะทาง 2.1 พันล้านกิโลเมตร

ความสูง (Elevation Gained) 21.8 พันล้านเมตร

ระยะทางเฉลี่ยต่อครั้ง 6.6 km (Men = 7 km, Women = 5.9 km)

ความสูงเฉลี่ยต่อครั้ง 44 m(Men = 46 m, Women = 39 m)

เวลาเฉลี่ยต่อครั้ง 40 นาที (Men = 41 นาที, Women = 39 นาที)

คนทั่วโลกที่บันทึกลง Strava มีราว 7% ที่วิ่งตั้งแต่ระยะ Marathon และ Ultra Marathon ญี่ปุ่นสูงสุดครับ มีถึง 23.8% แต่ไม่มีข้อมูลประเทศไทยครับ ถ้าให้ผมเดา ก็น่าจะ >10% แน่นอนครับ

The State of Running 2019

by RunRepeat.com and The IAAF

เป็นการเก็บสถิติรายการแข่งขันทั่วโลก งานวิจัยทำในปี 2019 เก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 1986-2018 เก็บข้อมูลจากงานวิ่งราว 70,000 งาน และข้อมูลผู้เข้าร่วมแข่งราว 108 ล้านคน ได้ข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้

  1. งานวิ่งทั่วโลกมีผู้เข้าร่วมสูงสุดในปี 2016 และเริ่มลดลงประมาณ 13% ในปี 2018 แต่รายการวิ่งใน Asia ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง
  2. ในปี 1986 the average finish time = 3:52:35 ในขณะที่ปัจจุบันวิ่งได้เฉลี่ย 4:32:49 ช้าลง 40:14 นาที แต่ในเมืองไทยน่าจะวิ่งได้เร็วขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา
  3. อายุเฉลี่ยของนักวิ่งเพิ่มจาก 35.2 เป็น 39.3 ปี แสดงว่าคนอายุเยอะๆ มาวิ่งกันมากขึ้น
  4. ความเร็วเฉลี่ยของนักวิ่งสเปนวิ่งระยะมาราธอนเร็วสุด ระยะฮาล์ฟที่วิ่งเฉลี่ยเร็วสุดคือ รัสเซีย ระยะ 10K คือ สวิสเซอร์แลนด์ และระยะ 5k เป็นประเทศยูเครน
  5. ในปี 2018 มีนักวิ่งหญิงมากกว่าชายเป็นครั้งแรก ราว 50.24%
  6. นักวิ่งที่ไปเที่ยวด้วยเพิ่มขึ้นมากสูงสุดในปัจจุบัน และน่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในอนาคต
  7. แรงจูงใจในการวิ่งเริ่มเปลี่ยนจาก การบรรลุเป้าหมาย (เวลา) เป็นการวิ่งเพื่อสุขภาพ การพักผ่อน เพื่อร่วมกิจกรรมกับเพื่อน โดยสรุปจาก นักวิ่งที่เดินทางไปวิ่งด้วยเที่ยวด้วยที่มากขึ้น สถิติเวลาวิ่งที่ช้าลง ระยะทางที่วิ่งสำหรับคนอายุ >30 น้อยกว่าคนอายุ <30 ปี 

จำนวนนักวิ่งเพิ่มจากราว 1.5 ล้านคนในปี 2001 เป็น 9.1 ล้านคนในปี 2016 และเริ่มลดลงเหลือ 7.9 ล้านคนในปี 2018

เวลาเฉลี่ยในการวิ่งจบมาราธอนช้าลงทุกปี เนื่องจากมีนักวิ่งหน้าใหม่เข้าร่วมวิ่งมาราธอนเยอะขึ้น แต่แนวโน้มเวลาที่ช้าลงก็ลดลงน่าจะเป็นการฝึกซ้อมที่ดีขึ้น

ช่วงปี 1986 ถึง 2002 วิ่งช้าลงประมาณ 40 นาที ในระยะ 16 ปี 

ช่วงปี 2002 ถึง 2018 วิ่งช้าลงไปแค่ 2-3 นาที ในระยะ 16 ปี เช่นกัน

เวลาจบของผู้ชายกับผู้หญิงห่างกันประมาณ 30 นาที เป็นเวลาที่เท่ากับความแตกต่างของเกณฑ์เวลา Boston Qualifying Time แสดงว่า เวลาวิ่งของชายและหญิงทั่วโลก คงแตกต่างกันประมาณนี้

Pace comparison by distance

น่าแปลกในที่ความเร็วเฉลี่ยของนักวิ่งระยะฮาล์ฟมาราธอนจะมีความเร็วเฉลี่ยสูงสุด เมื่อเทียบกับระยะอื่นๆ เป็นไปได้ว่า นักวิ่งที่ลงระยะฮาล์ฟมีการเตรียมตัว ฝึกซ้อมมาพร้อมกว่าระยะอื่นๆ เช่น ระยะ 5k, 10k ที่มีนักวิ่งสมัครเล่นที่ไม่ค่อยได้ซ้อมจำนวนมากมาร่วมวิ่งๆ เดินๆ ส่วนระยะมาราธอนก็เป็นระยะที่วิ่งทำความเร็วได้ช้ากว่าการวิ่งระยะสั้นอยู่แล้ว รายละเอียดความเร็วเฉลี่ยของแต่ละระยะสรุปได้ประมาณนี้

  • ความเร็วเฉลี่ย male half marathoners is 5:40 minutes per kilometer and for female half marathoners, it is 6:22 minutes per kilometer.
  • ความเร็วเฉลี่ย male pace for marathons is 6:43 (18% slower than for half marathon), and the average female pace is 7:26 (17% slower than for half marathon). 
  • ความเร็วเฉลี่ย male pace for 10Ks is 5:51 (3% slower than for half marathon), and the average female pace is 6:58 (9% slower than for half marathon).
  • ความเร็วเฉลี่ย male pace for 5Ks is 7:04 (25% slower than for half marathon), and the average female pace is 8:18 (30% slower than for half marathon).

ถ้าดูอายุนักวิ่งในแต่ละระยะการวิ่ง พบว่าคนวิ่งมาราธอนมีอายุเฉลี่ยสูงสุด ก็น่าจะเป็นอย่างนั้น คนไทยก็เหมือนกัน คนที่วิ่งมาราธอนก็เก๋าๆ ทั้งนั้น

และถ้าดูอายุคนที่วิ่งจบมาราธอน ตั้งแต่ปี 1986 ถึง 2018 กลุ่มอายุที่วิ่งเฉลี่ยเร็วสุดคู่คี่กันคือ 30-40 และ 40-50 ปี ไม่แปลกใจถ้าไปดู Top 100 จะมีแต่คนอายุ 2 กลุ่มนี้ทั้งนั้น แต่ในเมืองไทย คนกลุ่มอายุ 50-60 วิ่งเร็วกว่ากลุ่มอายุ 20-30 ปี อย่างเห็นได้ชัด 

ถ้าดูเวลาเฉลี่ยเมื่อเทียบกับอุณหภูมิ พบกว่า อุณหภูมิต่ำกว่า 60 ฟาเรนไฮต์ (15 เซลเซียส) จะทำให้วิ่งดีที่สุด แต่ถ้าต่ำกว่า 40 ฟาเรนไฮต์ (5 เซลเซียส) จะวิ่งแย่ลง (หนาวเกินไป)

สัดส่วนนักวิ่งต่างชาติเยอะขึ้น แต่ก็ยังน้อยกว่านักวิ่งเจ้าภาพอยู่เยอะ (ตัวเลขนี้น่าจะเปลี่ยนไปในปี 2019 อย่างมีนัยสำคัญ ขนาด Berlin Marathon ยังมีนักวิ่งไทยตั้ง 500 คน)

สถิติการวิ่ง 10 กม. และ 5 กม. ของนักวิ่งไทยโดยเฉลี่ย (https://read.thai.run/5819/

  • 10 กม. ของไทยนักวิ่งทำเวลาเฉลี่ย 1:25:01 หรือเพซ 8:30 นาที/กิโลเมตร
  • 21 กม. ของไทยนักวิ่งทำเวลาเฉลี่ย 2:24:56 หรือเพซ 6:52 นาที/กิโลเมตร

สถิติประเทศไทย

Marathon

จิรัฐติกาล บุญมา เจ้าของสถิติมาราธอนของไทยที่เวลา 2:19:33 ชม. ที่เคยทำไว้ในปี พ.ศ. 2538 ที่จังหวัดลำพูน

โทนี่ เพย์น ลูกครึ่งไทย-นิวซีแลนด์ ทำสถิติวิ่งมาราธอนเร็วสุดด้วยเวลา 2:16:56 ชม. ในรายการแฟรงก์เฟิร์ตมาราธอน ที่ประเทศเยอรมนี ทำลายสถิติประเทศไทยที่ จิรัฐติกาล ทำไว้ และเป็นสถิติที่ดีที่สุดในอาเซียน 

Half Marathon

“บิ๊ก” ณัฐวุฒิ อินนุ่ม ปอดเหล็กชาวไทย ที่เค้นฝีเท้าเข้าเส้นชัยด้วยเวลา 1 ชั่วโมง 5 นาที 19 วินาที ในรายการ ยูเมะพลัส เชียงราย 21.1 (7/7/62) ทำลายสถิติตัวเองที่ทำไว้ที่ บางแสน21 เวลา 1.07.17 ชม.

10k

“บิ๊ก” ณัฐวุฒิ อินนุ่ม ด้วยเวลา 30:01 นาที ในการแข่งขัน CAT 10K Thailand Championship 2019 (8/9/62) 

ตามมาด้วย อันดับ 2 ‘เบล’ ณัฐวัฒน์ อินนุ่ม ด้วยเวลา 31:48นาที อันดับ 3 ‘โย’ โยธิน ยาประจันทร์ ด้วยเวลา 32:23 นาที

สถิติอื่นๆ ของประเทศไทยที่ update ล่าสุด เมื่อ 27/4/62 ยังไม่ได้แก้ไขการทำลายสถิติทั้ง 3 รายการข้างบนนี้ครับ แต่มีข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจเพียบเลย

สถิติ Sea Games

การแข่งขันสถิติประเทศที่ทำลายสถิติทำลายสถิติในการแข่งขันวันที่ทำลายสถิติ
วิ่ง 100 เมตร10.17 วินาทีอินโดนีเซียซีเกมส์ 200913 ธันวาคม พ.ศ. 2552
วิ่ง 200 เมตร20.69 วินาทีไทยซีเกมส์ 199910 สิงหาคม พ.ศ. 2542
วิ่ง 400 เมตร46.05 วินาทีไทยซีเกมส์ 199510 ธันวาคม พ.ศ. 2538
วิ่ง 800 เมตร1:48.29 นาทีมาเลเซียซีเกมส์ 198914 สิงหาคม พ.ศ. 2532
วิ่ง 1,500 เมตร3:45.31 นาทีเวียดนามซีเกมส์ 200711 ธันวาคม พ.ศ. 2550
วิ่ง 5,000 เมตร14:08.97 นาทีมาเลเซียซีเกมส์ 199315 มิถุนายน พ.ศ. 2536
วิ่ง 10,000 เมตร29:19.97 นาทีฟิลิปปินส์ซีเกมส์ 20037 ธันวาคม พ.ศ. 2546
วิ่งมาราธอน2:20:27 ชั่วโมงอินโดนีเซียซีเกมส์ 199719 ตุลาคม พ.ศ. 2540

สถิติโลก (World Record)

Marathon

Men: Eliud Kipchoge (KEN), 2:01:39, Berlin, 16 SEP 2018

2:01:41   Kenenisa BEKELE        ETH 1 Berlin     29 SEP

Women: Brigid Kosgei (KEN), 2:14:04, Chicago, 13 OCT 2019

Half

Men: Geoffrey Kamworor (KEN), 58:01, Copenhagen, 15 Sep 2019

Women: Joyciline Jepkosgei (KEN), 1:04:51, Valencia, 22 OCT 2017

10k

Men: Joshua Cheptegei (UGA), 26:38, Valencia, 01 DEC 2019

Women: Joyciline Jepkosgei (KEN), 29:43, Prague, 09 SEP 2017

สถิติของมนุษย์ที่วิ่งมาราธอนได้เร็วที่สุด

เอเลียด คิปโชเก (Eliud Kipchoge) นักวิ่งแชมป์โอลิมปิกชาวเคนยาวัย 34 ปี ทุบสถิติการวิ่งครบระยะมาราธอนภายในเวลา 1 ชั่วโมง 59 นาที 40.2 วินาทีได้สำเร็จ ในรายการ“INEOS 1:59 Challenge” ที่จัดขึ้นที่สวนสาธารณะพราเตอร์ (Prater) ซึ่งเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย (12/10/62)

ก่อนหน้านี้ Kipchoge เคยพยายามวิ่งมาราธอนให้ได้ต่ำกว่า 2hrs ใน Nike’s breaking 2 event in Monza, Italy แต่ก็พลาดเป้าทำได้เพียง 2:00:25 hrs ถ้าเพียงวิ่งเร็วขึ้น 1 วินาทีต่อไมล์ ความพยายามครั้งแรกก็สำเร็จแล้ว (พูดเหมือนง่าย)

ในการทลายกำแพง 2 hrs ในครั้งนี้ Kipchoge วิ่ง Pace เฉลี่ยต่ำกว่า 2:50 min/km หรือ 21.2 km/hr โดยวิ่งอยู่ระหว่าง 2:48-2:52 min/km พูดง่ายๆ คือ ระหว่างวิ่ง ความเร็วเฉลี่ยในทุกๆ ก้าว นำพาให้ Kipchoge วิ่งต่ำกว่า 1:59:59 hrs แน่นอน (เพราะ Pace เฉลี่ย ที่เวลา 1:59:59 hrs คือ 2:51 min/km)

จากเวลามาราธอน 1:59:40 hrs ถ้าดูที่ระยะ

10km Kipchoge วิ่งได้ 28:22 นาที (เร็วกว่าที่ ณัฐวุฒิ อินนุ่ม ที่ 30:01 นาที ซะอีก) 

21.1km วิ่งได้ 59:50.1 นาที ช้ากว่าสถิติโลก Half Marathon แค่ 1:49 นาที

ข้อมูลอืนๆ ที่น่าสนใจ

  • ในการเติมพลังงานระหว่างวิ่ง Kipchoge ได้รับเครื่องดื่มที่มี Carbohydrate 80g ที่ผสมในน้ำ 500ml โดยเป็น Powdered Drink ยี่ห้อ Mauten ที่มีทีมงานขี่จักรยานคอยส่งให้ ในบทความไม่ได้บอกว่าให้ทุกๆ  กี่นาทีหรือวิ่งไปแล้วกี่กิโลเมตร แต่มีข้อมูลในบทความว่า นักวิ่งเคนย่าต้องการ Carbohydrate 60-100g ทุกๆ 1 hrs (คราวก่อนใน breaking2 project Kipchoge ดื่ม 50ml ในแต่ละช่วง ที่พบว่าทำให้ การดื่ม 80ml ให้พลังงานถึงกล้ามเนื้อดีกว่ากว่า และไม่ก่อให้เกิดปัญหาการย่อย)
  • ในการวิ่งครั้งนี้ มีคนเชียร์ระหว่างทางหลายพันคนที่เวียนนา ต่างจากครั้งก่อนที่อิตาลีที่มีคนที่เกี่ยวข้องแค่หลักร้อยคน เพราะไม่ได้เปิดให้คนทั่วไปชมการวิ่งของ Kipchoge
  • สนามที่ใช้วิ่งคือ The Prater – the famous Viennese park,  สวนสาธารณะแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็น The ‘green lung of Vienna’ โดยเริ่มต้นวิ่งที่ สะพาน Reichsbrücke เป็นสะพานที่ข้ามแม่น้ำดานูบ วิ่งไปที่วงเวียน Praterstern แล้ววิ่งไปตามถนน Hauptallee ที่มีระยะทางตรงยาว 4.3 km ที่ราบเรียบมีต้นไม้สองข้างทาง ไปกลับตัวที่วงเวียน Lusthaus แล้ววิ่งวนกลับไปกลับมาระหว่าง 2 วงเวียนนี้ 4.4 รอบ คำนวณคร่าวๆ Pacemaker ชุดที่ 5 คงวิ่งได้ราว 3.8km ก็เข้าเส้นชัย
  • ในการลดแรงลมต้าน จะให้ Pacemaker จำนวน 7 คน ทั้งหมด 5 ชุด (รวม 35 คน สำรองอีก 6 คน) วิ่งกันลมต้านให้ Kipchoge โดยฟอร์มเป็นรูปตัว V ให้ Kipchoge อยู่หลังคนที่อยู่ปลายสุดของตัว V และมี Pacemaker อีก 2 คนอยู่ด้านหลัง ในทุกๆ 6 miles (9.6km) Pacemaker จะเปลี่ยนชุดกัน โดย Pacemaker ชุดสุดท้าย (ชุดที่ 5) จะวิ่งน้อยกว่าชุดอื่นๆ 
  • ในการวิ่งจะมีรถยนต์ไฟฟ้า Audi E-tron ที่กำหนด Pace ในการวิ่งและมีเลเซอร์ชี้เส้นทางให้ Pacemaker วิ่งไป พร้อมโชว์เวลาที่คาดว่าจะจบบนรถด้วย และในครั้งนี้ ระบบ Cruise Control ได้ถูกปรับเปลี่ยนใหม่ให้มีความแม่นยำมากขึ้น
  • อากาศในวันที่ 12 ตุลาคม อุณภูมิราว 10 องศา ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ (ความชื้นมาก ทำให้เสื้อหนักและเกิดแรงเสียดทานที่พื้นมากกว่าพื้นแห้ง)
  • สำหรับรองเท้าที่แน่นอนว่าต้องเป็นแบรนด์ Nike หลายเว็บลงชื่อรุ่นว่า Nike VaporFly Elite Flyprint ที่หนักข้างละ 11g ในเว็บ Nike บอกว่าเป็น Future edition of Next% ราคาตามป้าย 2 หมื่นกว่าบาท แต่เห็นซื้อขายในเมืองไทย (เพื่อนที่เคารพนับถือใน fb) ซื้อขายกันคู่ละ 2 แสนบาท อยากเห็นอยากสัมผัสเป็นบุญตาจริงๆ แต่ในบทความที่ผมอ่านเขาบอกว่าเป็นรุ่นที่ Custom (สั่งทำ) เพื่อ Kipchoge โดยเฉพาะ เรียกว่า Nike alphaFLY ที่เขาไปสืบเอาจากที่ Nike ไปจดสิทธิบัตร (ก็ไม่เปิดเผยอย่างเป็นทางการ ผมก็พยายามหา ก็ยังไม่มีข้อมูลอะไรที่มากกว่านี้) alphaFLY คู่นี้มี แผ่น carbon fibre 3 แผ่น และ มีปุ่มยาว (pod) 4 จุด ที่ทำจาก foam ที่ออกแบบมาเพื่อทำให้นักวิ่งวิ่งได้เร็วขึ้น เป็นรูปแบบเดียวกับ Next%  
  • ผมพยายามหาข้อมูลระยะก้าว (Stride Length) ของ Kipchoge แต่ไม่มีบทความไหนที่ระบุถึงระยะก้าวที่ Kipchoge วิ่งทำสถิติ 1:59:40.2 ชั่วโมง ผมเลยลองคำนวณระยะก้าวของ Kipchoge บนสมมติฐานดังนี้
    • รอบขา (Cadence) ของนักวิ่ง Elite จะประมาณ 180 ก้าวต่อนาที  ผมสมมติว่า Kipchoge วิ่งได้เฉลี่ยรอบขาเท่านี้
    • ในการวิ่งครั้งนี้ Kipchoge ทำเวลารวมได้ 1:59:40.2 ชั่วโมง คิดเป็น 119.67 นาที 
    • Kipchoge จะก้าวทั้งหมดบนระยะทาง 42.195 km = 119.67 x 180 = 21,541 ก้าว
    • ดังนั้นระยะก้าวเฉลี่ยของ Kipchoge ประมาณ = 42,195 m / 21,541 ก้าว = 1.96 เมตรต่อก้าว มากกว่าความสูงของ Kipchoge ที่สูงเพียง 1.67 m ถึง 1.17 เท่าของความสูง 
    • ถ้าสมมติว่า Kipchoge มีรอบขาเฉลี่ย 190 ก้าวต่อนาที ระยะก้าวของ Kipchoge ก็ยังสูงถึง 1.86 เมตรต่อก้าว ก็ยังสูงกว่าความสูงของ Kipchoge ถึง 1.11 เท่า 
    • เราสามารถเพิ่มระยะก้าวได้ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการวิ่งให้ได้ความเร็วสูงขึ้น

Reference

https://www.bltbangkok.com/CoverStory/คนไทยแห่วิ่ง15ล้านคนดันงานวิ่งพุ่งนับพันเงินสะพัด5พันล้านบาท

https://runrepeat.com/state-of-running?fbclid=IwAR182RDsjMeHg92CTCaQjcBgNcCVcdkEVCmf1GD7HDnpJ6jukKXRazn3bTc

https://www.wired.co.uk/article/eliud-kipchoge-ineos-159-marathon

https://www.ineos159challenge.com/news/vienna-named-as-venue-for-eliud-kipchoges-ineos-1-59-challenge/

1 ความเห็น

ใส่ความเห็น